รายการบล็อกของฉัน

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง”


ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง”

ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง” ?
พระพุทธเจ้าเปรียนเหมือนหมอผ่าตัดผู้ป่วยที่ถูกลูกศรปักอก หมอไม่จำเป็นต้องใส่ใจว่าคนยิงเป็นใคร ทำไมคนร้ายจึงยิง หมอทำหน้าที่เพียงเร่งผ่าตัดช่วยชีวิตให้เร็วที่สุด ....แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมให้ผ่าตัด โดยตั้งเงื่อนไขว่า “ต้องหาคนยิงให้ได้ก่อน ..เขาหน้าตาเป็นอย่างไร? ผู้หญิงหรือผู้ชาย...ต้องให้เขาบอกเหตุผลที่ยิงให้ได้ก่อน...ผมจึงจะยอมให้หมอผ่าเอาลูกศรออก” ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็รับรองได้ว่า “ผู้ป่วยตายแหง๊แก๊ !???” ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฏกจูฬมาลุกยสูตร เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๒๖ หน้า ๑๓๘ ดังนี้
“หากมีใครกล่าวว่า „ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า „โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )‟ ตราบนั้นเราก็จักยังไม่ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระองค์ ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่อาบยาพิษอย่าง
ร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์ผู้ชํานาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า „ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเรา เราก็จักไม่ให้ถอนลูกศรนี้ออกไป‟ ฯลฯ
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า „ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัวเขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป‟ ต่อให้บุรุษนั้นตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย [21]
“เราไม่ตอบปัญหาว่า „โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )‟ เราไม่ตอบเพราะเหตุไร? เราจึงไม่ตอบเพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ คือปัญหาว่า „นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา‟ เราตอบเพราะเหตุไร? เราตอบเพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็น ไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ
เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่าเป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่าเป็นปัญหาที่เราตอบเถิด” [22]

พระพุทธเจ้าไม่ตอบเรื่อง “สร้างโลก” เพราะไม่มีความรู้..??

ตอบว่า..หลังจากตรัสรู้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้พระนามใหม่ อีกพระนามหนึ่งว่า“พระสัพพัญํู” แปลว่า ทรงรู้เรื่องทั้งปวง คือ รู้หมดทุกอย่าง ด้วยความที่พระองค์รู้ทุกอย่างนี่เอง ทำให้พระองค์ประมวลความรู้ทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วมีพระดำริว่า ถ้าหากทรงสอนทั้งหมด หรือบอกทั้งหมดที่รู้ จะ
ก่อให้เกิดโทษ เกิดหายนะแก่มวลสรรพสัตว์เสียมากกว่า พระองค์จึงเลือกที่จะสอนเฉพาะเรื่องที่เป็นไปเพื่อดับทุกข์ คล้ายโศกเพียงเท่านั้น ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ หน้า ๖๑๓ ดังนี้
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวันเขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย๒-๓ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย๒-๓ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้ว.. แต่มิได้บอกเธอนั้นมีมาก เพราะเหตุไรเราจึงมิได้บอก? เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นเราจึงมิได้บอก
สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว คือ เราบอกว่า„นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา‟ เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานเพราะเหตุนั้นเราจึงบอก [23]
ศาสนาพุทธมิใช่ว่าปฏิเสธเรื่อง “พระเจ้า” แต่ไม่ให้ความสําคัญ และไม่ใส่ใจที่จะไปพึ่งพายึดถือ เพราะพระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า การได้เป็นเทพหรือการไปเกิดอยู่ในวิมานในสวรรค์กับพระเจ้าแล้ว....ก็ยังมิใช่สุขแท้สุขถาวร ที่ไม่ต้องกลับมาเป็นทุกข์อีก คือ แม้จะได้เกิดเป็นเทวดาแล้วก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ตกนรกบ้าง ขึ้นสวรรค์บ้าง ถ้ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ก็มีโอกาสที่จะตกนรกอีก เพราะคนที่เกิดมาแล้วไม่ทำบาปเลยไม่มี
ศาสนาพุทธมุ่งศึกษาแต่ในประเด็นว่า ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นไปจากกฏเกณฑ์ทั้งปวงได้ ไม่ต้องยอมสยบอยู่กับอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ในที่สุดพระพุทธเจ้าก็ทรงค้นพบวิธีการนั้น นั่นก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่สามารถปฏิบัติให้เห็นผลได้จริงในชาติปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ด้วยตนเองในชาตินี้ ไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน ซึ่งมีพระอริยเจ้าในพุทธศาสนาสามารถพิสูจน์ทราบจนเห็นประจักษ์ แล้วนำออกเผยแผ่ สืบทอดต่อ ๆ กันมาทุกยุคทุกสมัย จนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง
[1] ศาสนาอิสลาม : คนใดที่ละทิ้งความศรัทธา คนนั้นจะพินาศและจะอยู่นรกอย่างนิรันดร (ซุเหราะฮฺ อัลอิมรอน 90) “และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (กุรอาน 3:85) “ผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์หลังจากที่เขาได้รับศรัทธาแล้ว(เขาจะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์) เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับทั้งๆ ที่หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาด้วยการปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็จะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์และสําหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์” (กุรอาน 6:106, ศาสนาคริสต์ : ในผู้อื่น ความรอดไม่มีเลย ด้วยนามอื่นซึ่งเขาทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรดให้มีท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า" (กิจการ4:12) สมาคมพระคริสตธรรมไทย พระคริสตธรรมคัมภีร์ พันธสัญญาเดิมและพันธ สัญญาใหม่ หน้า ๒๖๐
[2] วิสุทฺธชนวิลาสินี(บาลี)๑/๑๒๐
[3] ม.อุ.(ไทย) ๑๔/๒๙๔/๓๕๓
[4] องฺ.ทุก.(ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕
[5] สํ.นิ.(ไทย)๑๖/๒๐/๓๔
[6] ม.อุ. ๑๔/๗๗/๕๗-๕๘ , ขุ.จูฬ (ไทย) ๓๐/๓๓/๑๖๖
[7] พระมหาคัมภีร์ กุรอาน บทที่44 โองการที่54
[8] คัมภีร์ ไบเบิ้ล มัทธิว 5:43 ลูกา 6:27
[9] พระคัมภีร์ไตรปิฎก เล่มที่22 หน้า68
[10] ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ หน้า๒๙๒
[11] จากหนังสือ ..ปัญหาเกี่ยวกับ พระผู้เป็นเจ้า กรรม อนัตตา โดย พุทธทาสภิกฺขุ
[12] ข้อความนี้โพสต์ความคิดเห็น โดย ด๋อยไอซ์ / 18 เม.ย. 51 เวลา 23:37:17
[13] นำมาจาก บอร์ด : http://www.jaisamarn.org/webboard/question.asp?QID=4002
[14] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์ เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑ หน้า ๗๒๑

แหล่งข้อมูล / คัดลอก : http://www.tlcthai.com/
แหล่งข้อมูล / คัดลอก : http://www.vcharkarn.com/
แหล่งข้อมูล / หารูปภาพ : http://www.google.co.th/
ผู้รวบรวม / เรียบเรียง : hs6kjg
26 มิถุนายน 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น