รายการบล็อกของฉัน

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ ๑๗ วันที่ ๙ ก.ค. ๕๓


ครั้งที่ ๑๗ วันที่ ๙ ก.ค. ๕๓

สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๓ วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓
๑. อนุมัติแต่งตั้งพระสังฆาธิการ/พระภิกษุให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้

๑.๑ พระวิมลวิหารการ (สมศักดิ์ ถิรธมฺโม) ป.ธ. ๓ น.ธ. เอก วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร
๑.๒ พระครูปลัดคำดี เขมธโร ป.ธ. ๖ น.ธ. เอก พธ.บ. วัดโพธิ์ชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย
๑.๓ พระครูปลัดมงคลวรวัฒน์ (ธีรปญฺโญ) ป.ธ. ๔ น.ธ. เอก พธ.บ. พธ.ม. วัดโพธิ์ชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย
๑.๔ พระครูอนุกูลศิลาเขต (มณเฑียร มหิสฺสโร) ประโยค ๑ - ๒ น.ธ. เอก พธ.บ. วัดโพธิ์ชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย
๑.๕ พระมหามีชัย ชินปุตฺโต ป.ธ. ๖ น.ธ. เอก รป.ม. วัดแจ้งแสงอรุณ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดแจ้งแสงอรุณ
๑.๖ พระมหาอุทัย เตชธมฺโม ป.ธ. ๗ รป.ม. วัดแจ้งแสงอรุณ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดแจ้งแสงอรุณ

๒. อนุมัติเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ดังนี้

๒.๑ อนุมัติการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ จำนวน ๑๒ รูป ดังนี้
๑. พระวรพัฒน์ ภทฺราวุโธ วัดสระเรียง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดไตรรัตน์ รัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
๒. พระธีระศักดิ์ ชลิโต วัดอุโมงค์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดป่าสามัคคี รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
๓. พระประเสริฐ ปญฺญาสาโร วัดอุโมงค์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดป่าสามัคคี รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
๔. พระสุรัตน์ ฐิตวฑฺฒโน วัดจันทรสิรินทราวาส อำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพระศรีรัตนาราม รัฐมิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา
๕. พระมหาพิสิทธิ์ มณิวํโส วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธมงคลนิมิต รัฐนิวแม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
๖. พระมหาวีระ วิริโย วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ไปปฏิบัติศาสนกิจ เป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธมงคลนิมิต รัฐนิวแม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
๗. พระมหาวัลลภ วลฺลภปญฺโญ วัดสร้อยทอง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธจักรมงคลรัตนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
๘. พระมหายุทธกิจ ปญฺญาวุโธ วัดสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธบูชา เมืองรูแบซ์ ประเทศฝรั่งเศส
๙. พระมหาเตือนภัย จนฺทโก วัดช่างหิน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพิกุลทอง อำเภอตุมปัด รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
๑๐. พระปัญญา สุภทฺโท วัดสำโรง อำเภอละหารทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพิกุลทอง อำเภอตุมปัด รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
๑๑. พระอาทิตย์ อาทิตปญฺโญ วัดสำโรง อำเภอละหารทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ สำนักสงฆ์วิเทศธรรมพิทักษ์ อำเภอเบอร์สุด รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
๑๒. พระมหาสมพร ฐิตเมโธ วัดทองเพลง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดดำรงค์รัตนาราม อำเภอกัวลามูดา รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
๒.๒ ขอผู้แทนมหาเถรสมาคมเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๗กรกฎาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๕ รูป คือ
๑. พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
๒. พระเทพรัตนสุธี วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
๓. พระเทพปริยัติวิมล วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
๔. พระเมธีสุทธิกร วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
๕. พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

๓. เรื่องอื่น ๆ ที่ประชุมลงมติดังนี้

๓.๑ อนุมัติให้มีตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จำนวน ๑ ตำแหน่ง
๓.๒ อนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) แห่งที่ ๓ ตั้งอยู่ที่ วัดแม่ปาง ตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๓.๓ อนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ธรรมยุต) แห่งที่ ๒ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าธรรมธารา ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
๓.๔ เห็นชอบเปลี่ยนแปลงชื่อ วัดหนองคูใหญ่ เป็น “วัดป่าเนรัญชรา” จังหวัดศรีสะเกษ
๓.๕ อนุมัติเบิกเงินผลประโยชน์ของวัด ดังนี้
- วัดช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
- วัดประดู่ในทรงธรรม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
๓.๖ เห็นชอบเลื่อนการประชุมมหาเถรสมาคม (จากวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ไปเป็นวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๓)

๔. รับทราบเรื่องเสนอเพื่อทราบ ดังนี้

๔.๑ รายงานการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
๔.๒ รายงานการนำเงินศาสนสมบัติกลางฝากธนาคาร
๔.๓ ขอเชิญร่วมเจริญพระพุทธมนต์พร้อมกันในงาน “รวมพลังไทยเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”



น.ส.พัชราภรณ์ จันทรณิธานศรี นักวิชาการศาสนาชำนาญการ / ผู้สรุป
นายพิศาล แช่มโสภา ผู้อำนวยการส่วนงานมหาเถรสมาคม / ตรวจ


--------------------------------------------------------------------------------

ส่วนงานมหาเถรสมาคม สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
โทร. ๐ ๒๔๔๑ ๔๕๔๔ โทรสาร ๐ ๒๔๔๑ ๔๕๔๘

http://www.mahathera.org/

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม วันที่ ๒๑ มิ.ย. ๕๓



สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๓ วันจันทร์ ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓
สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๓
วันจันทร์ ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓

๑. อนุมัติแต่งตั้งพระสังฆาธิการ/พระภิกษุให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
๑.๑ พระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก) ป.ธ. ๕ น.ธ. เอก วัดเมืองยะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมืองฯ จังหวัดยะลา เจ้าคณะจังหวัดยะลา ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดยะลา
๑.๒ พระราชสารสุธี (ประสงค์ วราสโย) ป.ธ. ๘ วัดสิริกาญจนาราม ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม - กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี (ธรรมยุต) ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม - กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี (ธรรมยุต)
๑.๓ พระครูอนุสิฐธรรมสาร (อนันต์ จนฺทาโภ) ป.ธ. ๔ น.ธ. เอก ศน.บ. วัดพระธาตุดอยกองมู ตำบลจองคำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เจ้าคณะอำเภอปางมะผ้า ให้ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๑.๔ พระครูวิสิฐปัญญากร (พยุงศักดิ์ ปญฺญาภรโณ) น.ธ. เอก วัดบ้านตอง ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำพูน เจ้าคณะอำเภอเมืองลำพูน ให้ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดลำพูน
๑.๕ พระวราวุธ สีลาวุโธ น.ธ. เอก ศน.บ. กศม. วัดศรีสุทธาวาส ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองฯ จังหวัดเลย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง
๒. อนุมัติเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ดังนี้
๒.๑ อนุมัติการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ จำนวน ๙ รูป ดังนี้
๑. พระวินัย สมงฺคิโก วัดศรีษะเกษ อำเภอเมืองฯ จังหวัดหนองคาย ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดนวมินทรราชูทิศ เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส
๒. พระมหาไพฑูรย์ โชติวณฺโณ วัดอินทรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธสามัคคี นครไครส์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์
๓. พระมหาประเวศ เตชปญฺโญ วัดอินทรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธสามัคคี นครไครส์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์
๔. พระจรัญ ขนฺติพโล วัดสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดไทยเชตวันมหาวิหาร รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
๕. พระศิริชัย ปภสฺสโร วัดพลับพลา อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดไทยเชตวันมหาวิหาร รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
๖. พระศิเวษฐ์ จารุธมฺโม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพระธรรมกายเบลเยี่ยม ประเทศเบลเยี่ยม
๗. พระวุฒิคม ทีปธมฺโม วัดบึงพระ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดโพธิเจริญธรรม สุงไงปูยู เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
๘. พระกรนัน ฐานสมฺปนฺโน วัดศรีมงคล อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดโพธิเจริญธรรม สุงไงปูยู เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
๙. พระเดช สิริธมฺมุนี วัดราชบุรณะ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดโพธิเจริญธรรม สุงไงปูยู เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
๒.๒ อนุมัติต่ออายุหนังสือเดินทางของพระธรรมทูตที่ปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ จำนวน ๖ รูป ดังนี้
๑. พระสุทธิพงศ์ สุทฺธิวํโส (พระครูวิสุทธิธรรมวิเทศ) วัดพระไกรสีห์ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
๒. พระครูสุพัฒนเขมคุณ (เกษม เขมจิตฺโต) วัดสหธรรมิการาม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
๓. พระมหาสุนทร สุนฺทรธมฺโม วัดม่วง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
๔. พระมหาประสิทธิ์ สิรินฺธโร (พระครูวิเทศสิริธรรม) วัดพระไกรสีห์ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยไอซ์แลนด์ กรุงเยคยาวิค ประเทศไอซ์แลนด์
๕. พระครูธรรมธร ประคองศักดิ์ สตฺติปญฺโญ วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดพระธรรมกายเบลเยี่ยม ประเทศเบลเยี่ยม
๖. พระมหาสุเทพ อกิญฺจโน วัดสมานราษฎร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย
๒.๓ อนุมัติเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสหภาพเมียนมาร์ จำนวน ๓ รูป ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ คือ
๑. พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
๒. พระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
๓. พระครูวินัยธร ประเสียร อโนมคุโณ วัดนวลจันทร์ กรุงเทพมหานคร
๓. เรื่องอื่น ๆ ที่ประชุมลงมติดังนี้
๓.๑ อนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเลย จำนวน ๖ แห่ง คือ
๑) แห่งที่ ๑๑ ตั้งอยู่ที่ วัดขามชุม ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน
๒) แห่งที่ ๑๒ ตั้งอยู่ที่ วัดศรีสุทธาวาส ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองฯ
๓) แห่งที่ ๑๓ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าผาเจริญ ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง
๔) แห่งที่ ๑๔ ตั้งอยู่ที่ วัดเย็นศรีระธรรมประทีป ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย
๕) แห่งที่ ๑๕ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าน้ำภู ตำบลเมือง อำเภอเมืองฯ
๖) แห่งที่ ๑๖ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าสามัคคีธรรม ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน
๓.๒ เห็นชอบการจัดตั้งโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา วัดใหม่ไทยเจริญ ตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
๓.๓ เห็นชอบการจัดงานเทศน์มหาชาติและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓.๔ เห็นชอบการให้เช่าที่ดินเพื่อปักเสาและแขวนสายเคเบิลโทรศัพท์ผ่านวัดป่าฝ้าย (ร้าง) จังหวัดนนทบุรี
๓.๕ เห็นชอบการขอเช่าที่ดิน ดังนี้
- วัดท่ามะกอ (ร้าง) ตำบลบางพลับ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
- วัดกล้วย (ร้าง) ตำบลนายม อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์
- วัดอุทมพร (ร้าง) ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครพนม
- วัดโพธิ์ราษฎร์นิยม (ร้าง) ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
๔. รับทราบเรื่องเสนอเพื่อทราบ ดังนี้
๔.๑ พระครูศุภกิจวิบูล (ชัย ชนาสโภ) วัดวิเวกวราราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดตราด ถึงมรณภาพ
๔.๒ พระมหาวีระ ฐิติญาโณ วัดศรีสุดาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ถึงมรณภาพ
๔.๓ พระครูประโชติวีรธรรม (โอภาศ อาภาโส) วัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ถึงมรณภาพ
๔.๔ ขอถวายหนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ในสยามประเทศ


น.ส.พัชราภรณ์ จันทรณิธานศรี
นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
ผู้สรุป
นายพิศาล แช่มโสภา
ผู้อำนวยการส่วนงานมหาเถรสมาคม
ตรวจ

หมายเหตุ ๑. สรุปผลการประชุมนี้ ไม่สามารถนำไปเป็นเอกสารอ้างอิงทางกฎหมายได้
๒. ฐ และ ญ ที่เป็นภาษาบาลีจะใช้เป็นภาษาไทยแทน หากจะใช้เป็นภาษาบาลีจะต้องใช้
โปรแกรมอื่นที่มีความยุ่งยากกว่า

ทำไมพาสสปอร์ตพระจึงได้ยากนัก




โดย เมตฺตานนฺโท ภิกขุ
มติชนรายวัน วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ หน้า ๗
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01act04250246&show=1§ionid=0130&day=2003/02/25

ประเทศไทยมีพระภิกษุสามเณรกว่า ๓ แสนรูป แต่ในขณะนี้พระภิกษุสามเณรชาวไทยทั้งประเทศ กำลังได้รับความยากลำบากอย่างมากในการทำหนังสือเดินทาง เนื่องจากถูกระเบียบการเดินทางของพระภิกษุสามเณร กำหนดได้ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย กินเวลาหลายสัปดาห์หรือบางแห่งหลายเดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าพระภิกษุรูปนั้น รู้จักและเป็นที่ชอบพอของพระผู้ใหญ่ ที่ทำหน้าที่ควบคุมการออกหนังสือเดินทางมากน้อยเพียงใด หากมิรู้จักผู้ใดหรือที่ร้ายกว่านั้นคือ เป็นที่ไม่โปรดปรานของพระผู้ใหญ่บางท่านแล้ว การยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางย่อมเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากเจ้าหน้าที่กองหนังสือเดินทางของกองการกงสุลจะไม่นำพาคำร้องขอทำหนังสือเดินทางของพระภิกษุ หากปราศจากเอกสารรับรองจากกรมการศาสนา โดยที่ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายอื่น เช่น ศรีลังกา เมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชา มิได้มีเลือกปฏิบัติต่อพระภิกษุในลักษณะนี้เลย
ในขณะเดียวกันนักบวชชายและหญิงในคริสต์ศาสนา และโต๊ะครูในศาสนาอิสลาม สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง ณ สำนักงานสาขาต่าง ๆ ของกองการกงสุลได้โดยตรง พร้อมด้วยค่าธรรมเนียมอีกหนึ่งพันบาทและบัตรประจำตัวประชาชน ก็สามารถรับหนังสือเดินทางตามต้องการได้โดยสะดวก ใช้เวลาไม่เกิน ๒ วันทำการของระบบราชการไทย ความสะดวกเหล่านี้เนื่องจากระบบตรวจสอบ ผ่านศูนย์ข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งสามารถตรวจสอบประวัติของประชาชนไทยได้อย่างรวดเร็ว
เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่ อานิสงส์แห่งการเป็นประชาชนไทยนั้น หาได้ตกลงมาถึงพระภิกษุสามเณรที่เกิดเป็นคนไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ ในทางปฏิบัติพระภิกษุสามเณรซึ่งมีจำนวนกว่า ๓ แสนรูป มีฐานะเท่ากับประชาชนชั้นสองในแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาหลายร้อยปี (แม้จะไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญก็ตาม) การเลือกปฏิบัติต่อพระภิกษุสามเณรในการขอรับหนังสือเดินทางนี้ มิได้มีข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งในพระไตรปิฎกหรือพระธรรมวินัยข้อใดข้อหนึ่งรับรองอยู่เลย

ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางของพระภิกษุ
กฎระเบียบว่าด้วยการเดินทางไปต่างประเทศของมหาเถรสมาคมนี้ กำหนดแนวทางการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุและสามเณรไว้สองกรณีด้วยกัน คือ ในกรณีที่กิจที่จำเป็นในการเดินทางนั้นเป็นกิจส่วนตัว เช่น การไปแสวงบุญในประเทศอินเดีย การไปศึกษาต่อ หรือการไปงานกุศลในวัดไทยในต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ผ่านคณะกรรมการศูนย์ตรวจสอบพระภิกษุ (ศ.ต.ภ.) เป็นผู้พิจารณา หรือหากไปกิจที่เป็นทางการของการคณะสงฆ์ เช่น ปฏิบัติการพระธรรมทูตในสังกัดวัดไทยในต่างประเทศ คือ มหาเถรสมาคมเป็นผู้พิจารณา ซึ่งการดำเนินเรื่องยังต้องผ่านแม่กองพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ว่าเป็นพระภิกษุในสังกัดของมหานิกายหรือธรรมยุติกนิกาย
อนึ่ง ระเบียบปฏิบัติดังกล่าวมิได้กำหนดเงื่อนไขแก่ผู้พิจารณาว่า มีคุณสมบัติอย่างไร หรือมีมาตรฐานในการพิจารณาการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พระภิกษุผู้ขอหนังสือเดินทางรูปนั้น ๆ ด้วย ทำให้กระบวนการทั้งหมดปราศจากมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของพระผู้ใหญ่เพียงประการเดียว เป็นการเปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้น
หากมีความจำเป็นส่วนตัวในการขอหนังสือเดินทาง พระภิกษุจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบ จากบุคคลต่างๆ ตามลำดับดังต่อไปนี้ คือ เจ้าอาวาสที่ตนสังกัดอยู่ เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค คณะกรรมการศูนย์ตรวจสอบพระภิกษุ (ศ.ต.ภ.) แล้วจึงนำเรื่องเข้ากรมการศาสนาเพื่อทำหนังสืออนุญาตให้ทำหนังสือเดินทางได้ ไปขอทำหนังสือเดินทาง ณ กองหนังสือเดินทางต่อไป ในการผ่านการอนุมัติตามขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ หากสะดุดเพียงขั้นเดียว ย่อมส่งผลให้การขออนุมัติหนังสือเดินทางนั้นล้มเหลวลงทันที แม้พระภิกษุรูปนั้นผ่านขั้นตอนการอนุมัติหนังสือเดินทางแล้วทั้งหมด ก็หาได้มีสิทธิในการรับหนังสือเดินทางฉบับที่เท่าเทียมกับประชาชนธรรมดาไม่ แต่จะได้รับหนังสือเดินทางราชการ (ปกสีน้ำตาลเข้ม) ซึ่งมีอายุหนังสืออยู่เพียง ๒ ปี ในขณะที่ของประชาชนธรรมดามีอายุ ๕ ปี ทั้ง ๆ ที่พระภิกษุมิได้เป็นข้าราชการแต่ประการใดไม่ และเป็นการขัดต่อพระธรรมวินัยโดยตรง ที่ออกหนังสือเดินทางราชการให้แก่พระภิกษุ เพราะเป็นข้อห้ามโดยตรงตั้งแต่แรกของการอุปสมบทว่าผู้ที่มาบวชนั้น ต้องไม่เป็นข้าราชการ และการปฏิบัติในลักษณะนี้เท่ากับเป็นการกระทำการอันเป็นเท็จ โดยตรงอีกด้วย
ในการเดินทางต่างประเทศนั้น สถานภาพของหนังสือเดินทางข้าราชการนั้น ไม่แตกต่างอะไรกับหนังสือเดินทางสามัญของประชาชนเลย ประเทศบางประเทศอาจให้สิทธิแก่หนังสือเดินทางข้าราชการบ้าง เป็นต้นว่าไม่จำเป็นที่ต้องมีวีซ่าก็สามารถเข้าประเทศได้ แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย การขอวีซ่าเข้าประเทศปลายทางยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อพระภิกษุผู้ถือหนังสือเดินทางข้าราชการอยู่นั่นเอง
สำหรับพระธรรมทูตก็เช่นเดียวกัน ไม่สามารถรับหนังสือเดินทางสามัญของประชาชนได้ แม้ว่าการขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางจะไม่ต้องผ่าน เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาค แต่ก็ต้องผ่านเจ้าอาวาสและแม่กองพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ซึ่งมีทรรศนะในการใช้อำนาจในการตัดสินใจแบบเดียวกันและขาดมาตรฐานในการดำเนินงาน

ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่พระภิกษุที่จำพรรษาต่างประเทศ
การคุมเข้มการออกหนังสือเดินทางของพระภิกษุไทยนี้ ได้สร้างความเสียหายและความยุ่งยากลำบาก แก่พระภิกษุไทยที่จำพรรษาในต่างประเทศอย่างมาก เนื่องจากตามกฎระเบียบฉบับนี้ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือเดินทางใดๆ แก่พระภิกษุได้เลย เจ้าหน้าที่กงสุลจะยืนยันตามกฎระเบียบว่าต้องได้รับการอนุมัติจากมหาเถรสมาคม หรือ ศ.ต.ภ.ก่อนเท่านั้น หากพระรูปดังกล่าวมีญาติโยม ช่วยวิ่งเต้นในเมืองไทยก็ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ กว่าจะขอเอกสารรับรองส่งไปยืนยันกับเจ้าหน้าที่สถานกงสุลในประเทศนั้นๆ ได้ หาไม่แล้วก็ต้องเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อกลับมาวิ่งเต้นทำหนังสือเดินทางของตนเองใหม่อีกครั้งทุก ๆ สองปี
สถานการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นสภาวะที่จำยอม ที่สร้างความทุกข์ทรมานและหดหู่ใจอย่างมาก แก่พระภิกษุไทยที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศ หากสถาบันการศึกษาที่ตนกำลังเรียนอยู่นั้นอยู่ในเมืองเดียวกับสถานกงสุลไทย ก็เป็นเรื่องสะดวกหน่อยหนึ่ง แต่โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ห่างไกลกันมาก ทำให้ต้องเดินทางกลับไปกลับมาอยู่หลายเที่ยวเพียงเพื่อขอต่ออายุหนังสือเดินทางของตนเองเท่านั้น กรณีที่เป็นพระหนุ่มที่ไม่มีญาติโยมในเมืองไทยวิ่งเต้นให้ ก็เป็นอันต้องลำบากเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า แม้ว่าประเทศที่ตนกำลังเรียนต่ออยู่นั้นได้ให้วีซ่ารับรองให้อยู่ต่อในประเทศนั้นได้ แต่อาจต้องเดินทางกลับ โดยที่เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไม่นำพาหรืออำนวยความสะดวก อ้างว่าไม่มีอำนาจในการดำเนินการ นอกจากพระรูปนั้นลาสิกขาเป็นฆราวาส แล้วตนเองจึงจะสามารถออกหนังสือเดินทางให้ได้
พระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมมักให้เหตุผลว่า เพราะรับเรื่องร้องทุกข์ในเรื่องพระทำตัวไม่ดีในต่างประเทศบ่อยจึงต้องคุมกันเข้มเพื่อให้ภาพลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้น อันที่จริงแล้วมหาเถรสมาคมไม่เคยมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเป็นสถิติตามหลักวิชาการแต่ประการใด และยังเป็นเหตุผลยกอ้างที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากพระผู้บริหารเหล่านี้ นอกจากมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารแล้ว ยังต้องรับผิดชอบในเรื่องการอบรมภิกษุทั้งหลายอีก เท่ากับให้ผู้ที่ไม่มีความเป็นกลางเป็นผู้วินิจฉัยสิทธิอันชอบธรรมของผู้ใต้ปกครองของตน การออกกฎเหล็กในการควบคุมเช่นนี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งฐานันดรของผู้มีอำนาจ มากกว่าที่จะเป็นประโยชน์กับพระศาสนา อันที่จริงการหากปราศจากระเบียบนี้ การศึกษาของคณะสงฆ์จะดีและทันสมัยขึ้น หากพระผู้น้อยทั้งหลายประพฤติตัวไม่เหมาะสม ก็น่าจะหาวิธีการให้การศึกษาอบรมพระภิกษุให้ดียิ่งขึ้นไป มิใช่แก้ไขปัญหาโดยการกำจัดสิทธิของนักบวชผู้น้อย เพื่อปกปิดความบกพร่องซึ่งตนเองมีส่วนรับผิดชอบโดยตรง
ระเบียบว่าด้วยพระภิกษุสามเณรผู้จะเดินทางไปต่างประเทศนี้ ขัดต่อหลักการและตัวมาตราแห่งรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากหนังสือเดินทางเป็นเอกสารราชการ ที่รัฐบาลออกให้แก่ประชาชนผู้มีสัญชาติไทยทุกคน ภายใต้หลักการและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐, มาตรา ๓๖, มาตรา ๓๘ ความในมาตราทั้ง ๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน กำหนดสิทธิให้ประชาชนไทยทุกคน ไม่ว่านับถือศาสนาใด ๆ ต้องได้รับการปฏิบัติโดยเสมอภาค พระภิกษุไทยมีสัญชาติไทย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับสิทธินี้ด้วย หาไม่แล้วจะถือว่ามหาเถรสมาคมมีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญแห่งชาติกระนั้นหรือ?
หากพิจารณาว่า มหาเถรสมาคมคือ องค์การบริหารงานทางศาสนาองค์กรหนึ่ง ที่มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะออกกฎหมายใดก็ได้ เพื่อควบคุมสมาชิกในองค์การของตน และเป็นสิทธิอันชอบธรรมภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การที่เจ้าหน้าที่กรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ เรียกร้องให้พระภิกษุที่ยื่นขอหนังสือเดินทางให้ต้องมีเอกสารรับรองจากศูนย์ตรวจสอบพระภิกษุ หรือกรมการศาสนา จนทำให้เกิดความล่าช้าและเดือดร้อนกันมากนั้น เป็นการเลือกปฏิบัติโดยมูลเหตุของศาสนาเป็นที่ตั้งและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๓ มาตรา อย่างชัดเจน

ระเบียบของมหาเถรสมาคมขัดต่อพระธรรมวินัย
แม้ระเบียบของมหาเถรสมาคมฉบับนี้ อ้างเหตุเพื่อเป็นการเกื้อกูลแห่งพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา แต่ในความเป็นจริงแล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ด้วยไม่ปรากฏว่าในพระธรรมวินัยแห่งใดที่ห้ามการเดินทางของพระภิกษุเลย เว้นไว้แต่การเข้าไปสู่ที่ที่เรียกว่า "อโคจร" อันได้แก่สถานเริงรมย์ แหล่งอบายมุข หรือที่ฝึกหัดทหารหรือสมรภูมิ เป็นต้น
พระธรรมวินัยยังได้ให้สิทธิแก่พระภิกษุผู้ที่บวชมานาน ในการอบรมสั่งสอนหรือการให้เกียรตินั่งในแถวหน้าก่อนพระภิกษุที่มีอายุพรรษาน้อย แต่กระนั้นเองระเบียบการควบคุมการออกหนังสือเดินทางของพระภิกษุนั้น มิได้เกื้อกูลต่อหลักการนี้ในพระธรรมวินัยแต่ประการใด อีกทั้งยังกำหนดเงื่อนไขแก่พระภิกษุที่อายุพรรษาไม่ครบห้าให้ต้องมีหนังสือรับรองเป็นพิเศษ
การกำหนดให้พระภิกษุรับหนังสือเดินทางข้าราชการ ทั้งที่บรรพชิตในพระพุทธศาสนามิใช่ข้าราชการนั้นเป็นการผิดหลักการของพระธรรมวินัยโดยตรง ยิ่งไปกว่านั้น เงื่อนไขตามที่กำหนดให้พระภิกษุสามารถขอหนังสือเดินทางจากกระทรวงการต่างประเทศได้นั้น กำหนดเงื่อนไขที่ปฏิบัติได้ยาก ทำให้พระภิกษุผู้มีกิจจำเป็นในการเดินทางไม่อาจปฏิบัติได้ ต้องอ้างเหตุว่าตนจะเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน เป็นต้น เพื่อให้ได้การอนุมัติเพื่อให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้ เท่ากับเป็นการสร้างเงื่อนไขที่เป็นปฏิปักษ์แก่การประพฤติธรรมวินัย สนับสนุนให้เกิดการเล่นพวกพ้อง และการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงการดงขมิ้นอีกด้วย
การยกเลิกกฎระเบียบของมหาเถรสมาคมที่ลิดรอนสิทธิมนุษยชนของพระภิกษุไทย ย่อมส่งผลดีในระยะยาว นอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาทางสิทธิมนุษยชนที่ถูกต้อง ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ แล้วยังจะเป็นการพัฒนาสังคมสงฆ์ให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย ระบบอุปถัมภ์อันเป็นบ่อเกิดของการคอร์รัปชั่นอันเน่าเฟะในสังคมจะได้ลดกำลังลงไปอีกสักหน่อยหนึ่ง หากต้องการให้พระภิกษุประพฤติตัวให้ดีถูกต้องตามพระธรรมวินัยให้มาก พระเถรทั้งหลายจะได้เวลามากขึ้น ในการพัฒนาหลักสูตรการคัดเลือกและอบรมพระภิกษุให้ดียิ่งขึ้นไป มิต้องเสียเวลาพิจารณาว่าภิกษุรูปใดเป็นพวกของใคร สมควรหรือไม่ควรได้หนังสือเดินทาง อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่รัฐธรรมนูญและปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติกำหนดไว้
ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียเวลาในการบริหารอย่างมาก ยังเป็นการกดขี่พระผู้น้อย แทนที่จะทำตัวให้เป็นผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างของผู้ใหญ่ผู้เจริญด้วยพรหมวิหารธรรม

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Facebook

Facebook

สะอาด สว่าง สงบ เย็น

หลวงพ่อขาว
นมัสการ หลวงพ่อขาว กลางป่าเขียว วัดพระขาว จังหวัดนครราชสีมา ถ้าเอ่ยถึงหลวงพ่อขาว หลายคนคงนึกถึงพระเกจิอาจารย์สักรูปอันเป็นที่เคารพนับถือในวัดแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ถ้าถามถึงหลวงพ่อขาวกับชาวโคราชแล้ว คนเมืองนี้ส่วนใหญ่หากไม่ร้องอ๋อ!?! ก็อาจจะพยักหน้าหงึกๆยืนยันว่ารู้จักดี เพราะหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปสีขาวนวลองค์มหึมาที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนริมยอดเขา ในวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดพระขาว” วัดพระขาว ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันพิสุทธิ์ร่มรื่นเขียวครึ้ม ณ เชิงเขาสีเสียดอ้าหรือ เขาเทพพิทักษ์ หมู่บ้านกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นจากดำริของ พระอาจารย์ท่านพ่อลี (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) ในปี พ.ศ. 2510 และแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2512 ปัจจุบันมี “พระครูพิทักษ์มัชฌิมเขต” เป็นเจ้าอาวาส วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเพราะเป็นที่ประดิษฐาน“พระพุทธสกลสีมามงคล” (ชื่อพระราชทาน)หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” ตามรูปลักษณ์และขนาดของพระพุทธรูปองค์นี้ ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะหลายกิโลเมตร หลวงพ่อขาว เป็นการสร้างขยายส่วนมาจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร พระพุทธรูปปางประทานพรที่มีพุทธลักษณะอันงดงามคล้ายพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย โดยองค์หลวงพ่อขาว หล่อด้วยคอนกรีตทั้งหมดมีน้ำหนักถึง 3000 ตัน หน้าตักกว้าง 13 วา สูงจากพื้นดิน 112 เมตร


หลวงพ่อขาวจำลอง
ทั้งนี้ผู้ที่จะไปสักการะหลวงพ่อขาวอย่างใกล้ชิดแบบถึงที่ก็ต้องเดินขึ้นบันไดไป โดยมีให้เลือกทั้งบันไดด้านซ้ายและด้านขวา ที่จำนวนขั้นบันไดทั้ง 2 ด้าน นับรวมกันได้ 1,250 ขั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขมงคลที่ทางวัดนำมาจากจำนวนพระสงฆ์ที่มาประชุมกันมิได้นัดหมายในวันมาฆบูชานั่นเอง สำหรับผู้ที่มีศรัทธาแรงกล้า(และกำลังขาที่แข็งแรง)ก็เมื่อขึ้นไปนมัสการหลวงพ่อขาวเพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตแล้ว ก็ไม่ควรพลาดการชมวิวมุมสูงของเมืองโคราชที่บนนั้นด้วย นอกจากนี้บริเวณใกล้ๆกับที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาวยังมีทางเดินป่าเล็กๆ ทอดยาวสู่“ถ้ำหมี” ที่หลวงปู่เมตตาหลวง(พระญาณสิทธาจารย์ ) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระขาวใช้ในการบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นประจำ ส่วนผู้ที่มีศรัทธาแต่ไม่ค่อยจะมีแรง หรือเป็นประเภทไม่นิยมความสูง ในอุโบสถหรือบริเวณทางขึ้นเขาก็มีหลวงพ่อขาวจำลององค์เล็กไว้ให้ได้สักการะบูชา ซึ่งใครที่เดินทางจากกรุงเทพฯผ่านไปทางปากช่องหากมีโอกาสก็อย่าลืมแวะเวียนเข้าไปซึมซับธรรมชาติและธรรมะกันได้ที่วัดพระขาว ที่ถือเป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราสีมาที่เปรียบเสมือนประตูมงคลก่อนจะเดินทางเข้าสู่อีสานเลยทีเดียว
วัดเทพพิทักษ์ปุณณารามหรือวัดพระขาว อันเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อขาว ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า หมู่บ้านกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 150 มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร มีถนนลาดยางเข้าไปถึงวัด


See sunset


Thousands flock to Stonehenge for summer solstice
Thousands of Summer Solstice revellers gathered at Stonehenge today to watch dawn break on the longest day of the year.
Nearly 20,000 people attended the event, with 15 arrests overnight for minor public disorder, a Wiltshire Police spokesman said. Photo: PA
The solstice annually attracts an eclectic mix - Druids, hippies, sun worshippers and those who are curious to experience the ancient festival.
Nearly 20,000 people attended the event at Stonehenge, with 15 arrests overnight for minor public disorder, a Wiltshire Police spokesman said.

As the sun rose at 0452, a cheer went up from those gathered overnight at the stone circle on Salisbury Plain in Wiltshire.
The crowds were treated to clear views of the sunrise - previous years have seen the spectacle obscured by mist and cloud.
Last year a record 36,500 revellers attended, causing traffic chaos and road closures.
It was announced last week that £10 million of funding for a proposed visitor centre at the prehistoric site has been axed, putting the plans on hold indefinitely.

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง”


ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง”

ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง” ?
พระพุทธเจ้าเปรียนเหมือนหมอผ่าตัดผู้ป่วยที่ถูกลูกศรปักอก หมอไม่จำเป็นต้องใส่ใจว่าคนยิงเป็นใคร ทำไมคนร้ายจึงยิง หมอทำหน้าที่เพียงเร่งผ่าตัดช่วยชีวิตให้เร็วที่สุด ....แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมให้ผ่าตัด โดยตั้งเงื่อนไขว่า “ต้องหาคนยิงให้ได้ก่อน ..เขาหน้าตาเป็นอย่างไร? ผู้หญิงหรือผู้ชาย...ต้องให้เขาบอกเหตุผลที่ยิงให้ได้ก่อน...ผมจึงจะยอมให้หมอผ่าเอาลูกศรออก” ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็รับรองได้ว่า “ผู้ป่วยตายแหง๊แก๊ !???” ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฏกจูฬมาลุกยสูตร เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๒๖ หน้า ๑๓๘ ดังนี้
“หากมีใครกล่าวว่า „ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า „โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )‟ ตราบนั้นเราก็จักยังไม่ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระองค์ ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่อาบยาพิษอย่าง
ร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์ผู้ชํานาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า „ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเรา เราก็จักไม่ให้ถอนลูกศรนี้ออกไป‟ ฯลฯ
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า „ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัวเขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป‟ ต่อให้บุรุษนั้นตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย [21]
“เราไม่ตอบปัญหาว่า „โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )‟ เราไม่ตอบเพราะเหตุไร? เราจึงไม่ตอบเพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ คือปัญหาว่า „นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา‟ เราตอบเพราะเหตุไร? เราตอบเพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็น ไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ
เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่าเป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่าเป็นปัญหาที่เราตอบเถิด” [22]

พระพุทธเจ้าไม่ตอบเรื่อง “สร้างโลก” เพราะไม่มีความรู้..??

ตอบว่า..หลังจากตรัสรู้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้พระนามใหม่ อีกพระนามหนึ่งว่า“พระสัพพัญํู” แปลว่า ทรงรู้เรื่องทั้งปวง คือ รู้หมดทุกอย่าง ด้วยความที่พระองค์รู้ทุกอย่างนี่เอง ทำให้พระองค์ประมวลความรู้ทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วมีพระดำริว่า ถ้าหากทรงสอนทั้งหมด หรือบอกทั้งหมดที่รู้ จะ
ก่อให้เกิดโทษ เกิดหายนะแก่มวลสรรพสัตว์เสียมากกว่า พระองค์จึงเลือกที่จะสอนเฉพาะเรื่องที่เป็นไปเพื่อดับทุกข์ คล้ายโศกเพียงเท่านั้น ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ หน้า ๖๑๓ ดังนี้
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวันเขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย๒-๓ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย๒-๓ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้ว.. แต่มิได้บอกเธอนั้นมีมาก เพราะเหตุไรเราจึงมิได้บอก? เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นเราจึงมิได้บอก
สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว คือ เราบอกว่า„นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา‟ เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานเพราะเหตุนั้นเราจึงบอก [23]
ศาสนาพุทธมิใช่ว่าปฏิเสธเรื่อง “พระเจ้า” แต่ไม่ให้ความสําคัญ และไม่ใส่ใจที่จะไปพึ่งพายึดถือ เพราะพระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า การได้เป็นเทพหรือการไปเกิดอยู่ในวิมานในสวรรค์กับพระเจ้าแล้ว....ก็ยังมิใช่สุขแท้สุขถาวร ที่ไม่ต้องกลับมาเป็นทุกข์อีก คือ แม้จะได้เกิดเป็นเทวดาแล้วก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ตกนรกบ้าง ขึ้นสวรรค์บ้าง ถ้ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ก็มีโอกาสที่จะตกนรกอีก เพราะคนที่เกิดมาแล้วไม่ทำบาปเลยไม่มี
ศาสนาพุทธมุ่งศึกษาแต่ในประเด็นว่า ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นไปจากกฏเกณฑ์ทั้งปวงได้ ไม่ต้องยอมสยบอยู่กับอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ในที่สุดพระพุทธเจ้าก็ทรงค้นพบวิธีการนั้น นั่นก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่สามารถปฏิบัติให้เห็นผลได้จริงในชาติปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ด้วยตนเองในชาตินี้ ไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน ซึ่งมีพระอริยเจ้าในพุทธศาสนาสามารถพิสูจน์ทราบจนเห็นประจักษ์ แล้วนำออกเผยแผ่ สืบทอดต่อ ๆ กันมาทุกยุคทุกสมัย จนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง
[1] ศาสนาอิสลาม : คนใดที่ละทิ้งความศรัทธา คนนั้นจะพินาศและจะอยู่นรกอย่างนิรันดร (ซุเหราะฮฺ อัลอิมรอน 90) “และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (กุรอาน 3:85) “ผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์หลังจากที่เขาได้รับศรัทธาแล้ว(เขาจะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์) เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับทั้งๆ ที่หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาด้วยการปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็จะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์และสําหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์” (กุรอาน 6:106, ศาสนาคริสต์ : ในผู้อื่น ความรอดไม่มีเลย ด้วยนามอื่นซึ่งเขาทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรดให้มีท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า" (กิจการ4:12) สมาคมพระคริสตธรรมไทย พระคริสตธรรมคัมภีร์ พันธสัญญาเดิมและพันธ สัญญาใหม่ หน้า ๒๖๐
[2] วิสุทฺธชนวิลาสินี(บาลี)๑/๑๒๐
[3] ม.อุ.(ไทย) ๑๔/๒๙๔/๓๕๓
[4] องฺ.ทุก.(ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕
[5] สํ.นิ.(ไทย)๑๖/๒๐/๓๔
[6] ม.อุ. ๑๔/๗๗/๕๗-๕๘ , ขุ.จูฬ (ไทย) ๓๐/๓๓/๑๖๖
[7] พระมหาคัมภีร์ กุรอาน บทที่44 โองการที่54
[8] คัมภีร์ ไบเบิ้ล มัทธิว 5:43 ลูกา 6:27
[9] พระคัมภีร์ไตรปิฎก เล่มที่22 หน้า68
[10] ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ หน้า๒๙๒
[11] จากหนังสือ ..ปัญหาเกี่ยวกับ พระผู้เป็นเจ้า กรรม อนัตตา โดย พุทธทาสภิกฺขุ
[12] ข้อความนี้โพสต์ความคิดเห็น โดย ด๋อยไอซ์ / 18 เม.ย. 51 เวลา 23:37:17
[13] นำมาจาก บอร์ด : http://www.jaisamarn.org/webboard/question.asp?QID=4002
[14] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์ เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑ หน้า ๗๒๑

แหล่งข้อมูล / คัดลอก : http://www.tlcthai.com/
แหล่งข้อมูล / คัดลอก : http://www.vcharkarn.com/
แหล่งข้อมูล / หารูปภาพ : http://www.google.co.th/
ผู้รวบรวม / เรียบเรียง : hs6kjg
26 มิถุนายน 2551

บทความทางพระพุทธศาสนา




ทำแท้ง” พุทธศาสนามองว่าอย่างไร ช่วงนี้มีการถกเถียงกันมากเกี่ยวกับประเด็น “ทำแท้ง” ว่าควรหรือไม่ควร โดยที่ทั้งฝ่ายเสนอ และฝ่ายคัดค้าน ต่างยกเหตุผลขึ้นมาถกเถียงกันฟังดูก็มีเหตุผลดีทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเสนอก็บอกว่าควรออกกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้เพราะตอนนี้ก็มีการลักลอบทำแท้งเถื่อนกันมากมาย ถึงอย่างไรก็ควบคุมกันไม่ได้อยู่แล้ว ทำไมไม่ทำให้มันถูกต้องไปเสียเลย บางคนก็ว่าในกรณีที่ตรวจพบว่าเด็กมีโรคร้ายแรงคลอดออกมาก็ทรมานเปล่าๆ อีกไม่นานก็ตาย สู้ทำแท้งไปเลยจะได้ตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลม ฯลฯ ฝ่ายคัดค้านก็คัดค้านอย่างจริงจัง โดยให้เหตุผลว่าการทำแท้งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กหนุ่มสาวมั่วเพศกันมากขึ้น บ้างก็ว่าเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม สรุปว่าข้อโต้แย้งเรื่องการทำแท้งนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่ยุติตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ “ทำแท้ง” พุทธศาสนาวินิจฉัยว่าสมควร หรือไม่สมควรอย่างไร ? ถ้าจะให้ตอบก็คงจะต้องตอบตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งวินิจฉัยว่า การทำแท้งเท่ากับการฆ่ามนุษย์คนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะพุทธศาสนาถือหลักว่าการปฏิสนธิว่าคือจุดเริ่มต้นของการเกิดเป็นมนุษย์ คือมีจิตใจของมนุษย์เกิดขึ้นอยู่ในเซลล์ชีวิตเล็กๆ ที่ปฏิสนธินั้นแล้ว และภาวะแห่งความเป็นมนุษย์นี้จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อตายลง อนึ่ง ในทางพุทธศาสนาท่านถือว่าการฆ่ามนุษย์นั้นบาปหนักกว่าการฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน เพราะภาวะของมนุษย์ท่านถือว่าเป็นชีวิตอันประเสริฐที่ต่างจากสัตว์ดิรัจฉานทั่วไป เหตุผลคือชีวิตมนุษย์เป็นชีวิตที่มีโอกาสสามารถพัฒนาตนให้เจริญงอกงามได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ยกตัวอย่างเช่น คนธรรมดาอย่างเจ้าชายสิทธัตถะยังสามารถพัฒนาตนจนอุบัติเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เป็นต้น ดังนั้นการฆ่ามนุษย์แม้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จึงเท่ากับการตัดโอกาสของชีวิตที่จะได้พัฒนาตนต่อไป ในเมื่อพุทธศาสนามองว่าบุตรในครรภ์แม้วันแรกก็ถือว่าเป็นมนุษย์แล้วเช่นนี้ ในการตัดสินใจว่าการทำแท้ง สมควรหรือไม่สมควร จึงเป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยเป็นกรณีๆ ไป ไม่มีคำตอบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจอะไรลงไป แต่สิ่งควรจะต้องตระหนักรู้ไว้อยู่ตลอดเวลาในการที่จะตัดสินใจว่าควรหรือไม่ควรทำแท้ง คือ ชีวิตเล็กๆ ในครรภ์นั้นได้มีภาวะของความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นแล้ว หาใช่แค่เซลล์เล็กๆ หรือก้อนเนื้อก้อนเล็กๆ อย่างที่เคยเข้าใจแต่อย่าง
ต่อท้าย #1 20 มี.ค. 2553, 21:31:03
หลักฐานที่มีมาในพระไตรปิฎก และอรรถกถา เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่อง “ทำแท้ง” ๑. พระวินัยบอกว่าฆ่ามนุษย์เป็นบาปหนักที่สุด บาปยิ่งกว่าการฆ่าสัตว์ใดๆ ภิกษุใดฆ่ามนุษย์ ถือว่าต้องอาบัติปาราชิก หมดสิทธิเป็นสมณะอีกต่อไป ดังจะยกบาลีขึ้นมาอ้างดังต่อไปนี้ โย ปน ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปยฺย, อยมฺปิ ปาราชิโก อสํวาโส (วินย.๑/๑๘๐/๑๓๗) แปลว่า ภิกษุใดจงใจพรากชีวิตมนุษย์ ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หมดสิทธิอยู่ร่วมกับสงฆ์ (ไม่สามารถอยู่ร่วมกับภิกษุอื่นได้อีกต่อไป) โย ภิกขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส คพฺภปาตนํ อุปาทาย, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย (วินย.๔/๑๔๔/๑๙๕) “ภิกษุใดจงใจพรากชีวิตมนุษย์แม้แต่เพียงทำครรภ์ให้ตกไป (ทำครรภ์ให้ตกไปหมายความว่าทำแท้งนั่นเอง) ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นศากยบุตร” ๒. ในพระสูตรบอกว่า ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นเมื่อเกิดองค์ประกอบสามอย่าง คือ ๑) มารดาบิดาร่วมกัน ๒) มารดาไข่สุก และ ๓) มีสัตว์เข้าไปเกิด “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด มารดาบิดาร่วมกัน ๑ (มีเพศสัมพันธ์) มารดาอยู่ในฤดู (ช่วงเวลาไข่สุก) ๑ และคันธัพพะเข้าไปตั้งอยู่แล้ว ๑ ( มีสัตว์ที่เข้าไปเกิด ) เพราะประชุมองค์ประกอบ ๓ ประการอย่างนี้ ก็มีการก้าวลงแห่งครรภ์” (ม.มู.๑๒/๔๕๒/๔๘๗) ๓. อรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า ปฐมจิตเกิดขึ้นครั้งแรกพร้อมกับ อรูปขันธ์ ๓ และกลลรูป ดังนั้นตามหลักพุทธศาสนาชีวิตจึงมีองค์ประกอบขันธ์ ๕ ครบสมบูรณ์ ณ วันที่เริ่มปฏิสนธินั่นเอง ๔. กลลรูป เป็นเซลล์ขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และจะใช้เวลานานประมาณ ๕ สัปดาห์ กว่าจะเริ่มงอกแขนขาและศีรษะ ออกมาเป็นร่างกายมนุษย์ โดยที่ขั้นตอนเจริญเติบโตกว่าที่จะงอกเป็นปุ่มปมห้าปุ่ม นี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละสัปดาห์ ดังจะขอยกอรรถาธิบายของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มาแสดงดังต่อไปนี้
ต่อท้าย #2 20 มี.ค. 2553, 21:31:13
ชีวิตในครรภ์ เป็นอย่างไร ? ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เสา โลมา นขาปิ จํ นี้คือคำอธิบายว่าด้วยลำดับการเกิดเป็นระยะๆ ทีละช่วงสัปดาห์ หรือช่วงละเจ็ดวันๆ ลำดับแรกที่สุดก็คือเป็น ปฐมํ กลลํ เป็นกลละก่อน กลละนี่ถ้าเป็นศัพท์ในความหมายทั่วไปก็จะได้แก่พวกเมือก พวกโคลนตม เช่นว่าเหยียบลงไปในโคลนหรือในที่เละ แต่ในที่นี้ กลละ เป็นศัพท์เฉพาะซึ่งมีความเกี่ยวกับชีวิต และท่านใช้คำเรียกว่าอย่างนั้น ก็เพราะมีลักษณะเป็นเมือก หรือเหมือน อย่างน้ำโคลนเละๆ คือเป็นคำเรียกตามลักษณะ แต่ในกรณีนี้ ท่านหมายถึงเป็นเมือกใส ไม่ใช่ข้นอย่างโคลนตม กลละ นี้ ท่านบอกว่าเป็นหยาดน้ำใส เป็นหยดที่เล็กเหลือเกิน เล็กจนกระทั่งในสมัยนั้นไม่รู้จะพูดกันอย่างไรเพราะยังไม่ได้ใช้มาตราวัดอย่างละเอียดถึงขนาดที่ว่าเป็นเศษส่วนเท่าไรของวิธีอุปมาว่า หยาดน้ำใสกลละนี้นะ มีขนาดเล็กเหลือเกิน เหมือนอย่างเอาขนจามรีมา จามรีที่เป็นสัตว์อยู่ทางภูเขาหิมาลัย ซึ่งมีขนที่ละเอียดมากเอาขนจามรีเส้นหนึ่งมาจุ่มน้ำมันงา แล้วก็สลัดเจ็ดครั้ง แม้จะสลัดเจ็ดครั้งแล้วมันก็ยังมีเหลือติดอยู่นิดหนึ่ง ซึ่งเล็กเหลือเกิน ท่านบอกว่านี่แหละเป็นขนาดของกลละ กลละหมายถึงชีวิตในฝ่ายรูปธรรม เมื่อเริ่มกำหนดในเจ็ดวันแรกในช่วงเจ็ดวันแรกก็เป็นกลละอย่างนี้มาก่อน ซึ่งเล็กเหลือเกิน แล้วต่อจากกละนี้ไปในสัปดาห์ที่สองก็เป็น อัพพุทะ อัพพุทะ นี้ควรจะเรียกได้ว่าเป็นเมือกกละ คือ เป็นน้ำข้นหรือเมือกข้น ต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๓ ก็จะเป็นเปสิ คือเป็นชิ้นเนื้อ แล้วต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๔ ก็จะเป็นก้อน เรียกว่า ฆนะ ต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๕ ก็จะเหมือนกับมีส่วนงอกออกมา เป็นปุ่มห้าปุ่ม เรียกว่าปัญจสาขา นี่เป็นสัปดาห์ที่ห้า แล้วหลังจากนั้นก็จะมีผมมีขนมีเล็บกันต่อไป คัดลอกมาจากหนังสือเรื่องทำแท้ง : ตัดสินอย่างไร ? หน้า ๑๒-๑๔โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).................................................ขอบคุณบทความจาก ธรรมจักรดอทเน็ต

ภาพวิวสวยๆนะจร้า


ข้อกำหนดในการบริการของ Blogger

ข้อกำหนดในการบริการของ Blogger
ยินดีต้อนรับสู่ Blogger! ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นใช้ Blogger คุณต้องอ่านและยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการของ Blogger ("ข้อกำหนดในการให้บริการ") และข้อตกลงและเงื่อนไขต่อจากนี้ รวมถึงการแก้ไขในอนาคต (เรียกรวมว่า "ข้อตกลง"):
· ข้อกำหนดในการให้บริการของ Google - ข้อกำหนดในการให้บริการทั่วไปของ Google (http://www.google.com/terms_of_service.html)
· นโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google - วิธีที่เราจัดการและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคุณใน Blogger (http://www.google.com/privacy.html)
· นโยบายเนื้อหาของ Blogger - วิธีที่เราส่งเสริมการแสดงออกโดยเสรี และการเผยแพร่อย่างรับผิดชอบ (http://www.blogger.com/content.g)
แม้ว่าเราจะพยายามแจ้งคุณเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการให้บริการของ Blogger คุณควรตรวจทานเวอร์ชันใหม่ล่าสุดอย่างสม่ำเสมอ (http://www.blogger.com/terms.g) Google อาจใช้สิทธิ์พิจารณาปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขนโยบายและข้อกำหนดในการให้บริการเมื่อใดก็ได้ และคุณยินยอมปฏิบัติตามการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขดังกล่าว หากคุณไม่ยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ คุณจะไม่สามารถใช้บริการ Blogger เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างเงื่อนไขในการให้บริการของ Blogger และเงื่อนไขในการให้บริการทั่วไปของ Google (http://www.google.com/intl/en/terms_of_service.html) หรือนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google (http://www.google.com/privacy.html) เงื่อนไขในการให้บริการของ Blogger (http://www.blogger.com/terms.g) จะมีผลควบคุม ไม่มีส่วนใดในข้อตกลงนี้กล่าวอ้างถึงสิทธิและผลประโยชน์ของบุคคลที่สาม
1. คำอธิบายของบริการ Blogger เป็นบริการเผยแพร่ทางเว็บ และบริการพื้นที่ซึ่งเป็นตัวเลือก ("บริการ") คุณจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นจากชื่อผู้ใช้ของคุณ และเก็บรหัสผ่านของคุณไว้ให้ปลอดภัย คุณเข้าใจและยอมรับว่าบริการนี้มีให้แก่คุณ ตามสภาพ และตามที่สามารถให้บริการได้ Google ไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือรับผิดต่อความพร้อมในการให้บริการ การตรงเวลา ความปลอดภัย หรือความเชื่อถือได้ของบริการ หรือซอฟต์แวร์ไคลเอ็นต์อื่นๆ นอกจากนี้ Google สงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไข ระงับ หรือยกเลิกบริการโดยจะแจ้งให้ทราบหรือไม่ก็ได้ โดยไม่มีความรับผิดใดๆ ต่อคุณ _
คุณต้องมีอายุเกินสิบสาม (13) ปีจึงจะสามารถใช้บริการนี้ได้ Google ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการให้บริการแก่บุคคลใดก็ตาม เมื่อใดก็ตาม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุ
2. การใช้งานอย่างเหมาะสม คุณยอมรับว่าคุณต้องรับผิดชอบต่อการใช้บริการนี้ การส่งบทความ และผลลัพธ์ของการกระทำเหล่านี้ด้วยตนเอง คุณยินยอมที่จะใช้บริการตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของท้องถิ่น รัฐ ประเทศ และระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการส่งข้อมูลทางเทคนิคออกจากประเทศที่พำนักของคุณ และกฎหมายควบคุมการส่งออกของประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณยินยอมปฏิบัติตามนโยบายเนื้อหาของ Blogger (http://www.blogger.com/content.g) ตลอดจนกฎและข้อบังคับในระบบ แม้ว่าเราจะพยายามแจ้งให้คุณทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในนโยบายเนื้อหาของ Blogger แต่คุณควรอ่านฉบับล่าสุดอยู่เป็นประจำ Google อาจใช้สิทธิ์พิจารณาปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขนโยบายเนื้อหาของ Blogger เมื่อใดก็ได้ และคุณยินยอมปฏิบัติตามการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขดังกล่าว
การละเมิดข้อกำหนดใดก็ตามที่กล่าวมาแล้ว รวมถึงนโยบายเนื้อหาของ Blogger (http://www.blogger.com/content.g) อาจทำให้มีการสิ้นสุดข้อตกลงนี้โดยทันที และคุณอาจได้รับบทลงโทษของรัฐหรือรัฐบาลกลาง และผลทางกฎหมายอื่นๆ Google ขอสงวนสิทธิ์ โดยไม่ถือเป็นภาระรับผิด ในการตรวจสอบการใช้บริการของคุณ เพื่อ (a) พิจารณาว่ามีการละเมิดข้อตกลงหรือไม่ หรือ (b) เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ กระบวนการทางกฎหมาย หรือคำขอของภาครัฐที่มีผลบังคับหรือไม่
เนื้อหาส่วนใหญ่ใน Blogger.com และ Blogspot.com รวมถึงเนื้อหาของบทความบางส่วน มาจากบุคคลที่ส่งบทความ และเป็นความรับผิดชอบของบุคคลดังกล่าว Google ไม่ได้ตรวจสอบเนื้อหาของ Blogger.com และ Blogspot.com และไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาดังกล่าว Google เพียงให้บริการในการเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าวแก่คุณ
ด้วยลักษณะในการดำเนินการ ทำให้ Blogger.com และ Blogspot.com อาจมีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เป็นอันตราย ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ในบางกรณี การโพสต์ที่มีข้อความกำกับไม่ถูกต้องหรือมีการหลอกลวงด้วยวิธีอื่น เราคาดหวังให้คุณใช้ความระมัดระวัง และใช้สามัญสำนึกและการตัดสินใจที่เหมาะสมเมื่อใช้ Blogger.com และ Blogspot.com
Google ไม่ได้ส่งเสริม สนับสนุน รับรอง หรือรับประกันความเป็นจริง ความถูกต้อง หรือความเชื่อถือได้ของการสื่อสารที่ส่งเป็นบทความผ่านทางบริการ หรือส่งเสริมความคิดเห็นใดที่แสดงออกผ่านทางบริการนี้ คุณรับทราบว่าการอ้างอิงเนื้อหาที่แสดงเป็นบทความผ่านทางบริการนี้จะต้องกระทำโดยคุณยอมรับความเสี่ยงเอง
3. ความเป็นส่วนตัว ในการใช้บริการนี้ คุณจะต้องยอมรับเงื่อนไขของนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google (http://www.google.com/privacy.html) ซึ่งอาจมีการปรับปรุงในบางโอกาส ตามที่แสดงในฉบับล่าสุดขณะที่คุณใช้งาน คุณยอมรับว่า Google สามารถเข้าถึงหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ รวมถึงเนื้อหาของการสื่อสารของคุณ ถ้า Google จำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการทางกฎหมายหรือคำร้องขอของรัฐที่มีผลบังคับ (เช่น หมายค้น หมายศาล ข้อกำหนด หรือคำสั่งศาล) หรือตามที่บัญญัติไว้ในข้อกำหนดในการให้บริการ และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google ข้อมูลส่วนบุคคลที่ Google เก็บอาจมีการจัดเก็บและประมวลผลในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นที่ Google Inc. หรือตัวแทนมีหน่วยงานอยู่ ในการใช้บริการนี้ จะถือว่าคุณยินยอมให้มีการโอนข้อมูลดังกล่าวไปนอกประเทศของคุณ
4. วิธีปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับการใช้และจัดเก็บ คุณเห็นพ้องว่า Google ไม่มีภาระรับผิดชอบหรือความรับผิดในการลบ หรือความผิดพลาดในการบันทึกหรือส่ง ตลอดจนเนื้อหาและการสื่อสารอื่นๆ ที่มีให้ในบริการ Google สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาจำกัดการใช้งานและการเก็บข้อมูลเมื่อใดก็ได้ โดยจะแจ้งให้ทราบหรือไม่ก็ได้
5. เนื้อหาของบริการ Google ไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหาของบุคคลที่สาม (รวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียง ไวรัสหรือคุณลักษณะที่ทำให้ใช้งานไม่ได้) และ Google ไม่มีภาระรับผิดชอบต่อการตรวจสอบเนื้อหาของบุคคลที่สาม Google ขอสงวนสิทธิ์ในการลบหรือปฏิเสธที่จะแจกจ่ายเนื้อหาใดก็ตามในบริการ เช่น เนื้อหาที่ละเมิดข้อกำหนดของข้อตกลงนี้ เมื่อใดก็ได้ และ Google สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึง อ่าน เก็บรักษา และเปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่มีเหตุให้เชื่อว่ามีความจำเป็น เพื่อ (a) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ กระบวนการทางกฎหมาย หรือคำขอของรัฐบาล (b) บังคับใช้ข้อตกลงนี้ รวมถึงการสอบสวนถึงสิ่งที่อาจเป็นการละเมิดข้อตกลงนี้ (c) ตรวจสอบ ป้องกัน หรือดำเนินการอื่นๆ กับการหลอกลวง ปัญหาด้านความปลอดภัยหรือทางเทคนิค (d) ตอบสนองคำขอรับการสนับสนุนของผู้ใช้ หรือ (e) คุ้มครองสิทธิ์ ทรัพย์ หรือความปลอดภัยของ Google ผู้ใช้ และสาธารณชน Google จะไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือรับผิดต่อการใช้หรือละเว้นที่จะใช้สิทธิ์ใดๆ ภายใต้ข้อตกลงนี้
6. สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของ Google คุณรับทราบว่า Google เป็นเจ้าของสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ และผลประโยชน์ของบริการ รวมถึงสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด ("สิทธิ์ของ Google") สิทธิ์ของ Google ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสหรัฐอเมริกาและกฎหมายระหว่างชาติ ดังนั้น คุณยินยอมที่จะไม่คัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือสร้างผลงานต่อเนื่องจากบริการ และคุณยินยอมที่จะไม่ใช้กลไก สไปเดอร์ อุปกรณ์อัตโนมัติ หรือกระบวนการที่ดำเนินงานด้วยตนเอง เพื่อติดตามหรือคัดลอกเนื้อหาจากบริการ ตามที่อธิบายด้านล่างนี้ สิทธิ์ของ Google ไม่รวมถึงเนื้อหาของบุคคลที่สามที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของบริการ รวมถึงเนื้อหาการสื่อสารที่ปรากฏในบริการ
สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของคุณ Google ไม่อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรือควบคุมเนื้อหาใดๆ ก็ตามที่มีการส่ง ส่งบทความ หรือแสดงโดยคุณใน หรือผ่านบริการของ Google คุณหรือผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นบุคคลอื่น ถือกรรมสิทธิ์ในสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์สำหรับเนื้อหาที่คุณส่ง ส่งบทความ หรือแสดงในหรือผ่านบริการของ Google และคุณมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการคุ้มครองสิทธิ์ดังกล่าวตามสมควร การส่ง ส่งบทความ หรือแสดงเนื้อหาในหรือผ่านทางบริการของ Google ซึ่งมีให้สำหรับสาธารณชน จะถือว่าคุณให้สิทธิ์แก่ Google ในการทำซ้ำ เผยแพร่ และแจกจ่ายเนื้อหาดังกล่าวทั่วโลก ไม่เจาะจงและไม่มีค่ากรรมสิทธิ์ ในบริการของ Google เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงและแจกจ่ายบริการของ Google นอกจากนี้ Google สงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธที่จะยอมรับ แสดงบทความ แสดงหรือส่งเนื้อหาใดๆ ตามที่พิจารณาเห็นควร
คุณรับรองและรับประกันว่าคุณมีสิทธิ์และอำนาจที่จะให้สิทธิ์ซึ่งมีการให้ ณ ที่นี้สำหรับเนื้อหาที่ส่ง
คุณสามารถเลือกที่จะส่ง ส่งบทความ แสดงเนื้อหาในหรือผ่านบริการ Blogger หรือ Blogspot.com ภายใต้ใบอนุญาตสาธารณะ (เช่น ใบอนุญาต Creative Commons ) โดยอาจใช้วิธีทำเครื่องหมายเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว หรือใช้เครื่องมือบริการของ Blogger เพื่อมิให้เกิดข้อสงสัย Google ไม่ใช่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตสาธารณะระหว่างคุณกับบุคคลที่สาม นอกจากนี้ Google อาจเลือกที่จะใช้สิทธิ์ที่ให้ไว้ภายใต้ (a) ใบอนุญาตสาธารณะที่คุณใช้กับเนื้อหา ถ้ามี หรือ (b) ข้อตกลงนี้
7. ห้ามขายต่อบริการ ยกเว้นที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Google คุณยินยอมที่จะไม่ทำซ้ำ จำลอง คัดลอก ขาย แลกเปลี่ยน หาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จาก (a) ส่วนหนึ่งส่วนใดของบริการ (b) การใช้บริการ หรือ (c) การเข้าถึงบริการ
8. การเปิดเผยต่อสาธารณชน การใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ โลโก้ ชื่อโดเมน และลักษณะที่เป็นตราสินค้าอย่างชัดเจนของ Google ("ตราสินค้า") รวมถึง "Blogger," "Blogger.com," "Blogspot," และ "Blogspot.com" ต้องเป็นไปตามข้อตกลงนี้ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การใช้ตราสินค้าของ Google ในขณะนั้น รวมถึงเนื้อหาภายในหรือมีการอ้างอิง ซึ่งอยู่ที่ URL ต่อไปนี้: http://www.google.com/permissions/guidelines.html (หรือ URL อื่นๆ ที่ Google อาจมีให้ในบางโอกาส)
9. การรับรองและรับประกัน คุณรับรองและรับประกันว่า (a) ข้อมูลทั้งหมดที่คุณให้แก่ Google ในการเข้าร่วมใช้บริการนั้นถูกต้องและเป็นข้อมูลปัจจุบัน และ (b) คุณมีสิทธิ์และมีอำนาจเต็มที่จะลงนามในข้อตกลงนี้ และดำเนินการตามที่กำหนดสำหรับคุณในที่นี้
10. การยุติ การระงับ Google อาจใช้สิทธิ์พิจารณายุติการให้บริการ ยุติข้อตกลง หรือระงับหรือยกเลิกบัญชีผู้ใช้ของคุณเมื่อใดก็ได้ และด้วยเหตุผลใดก็ตาม ในกรณีที่มีการยกเลิก บัญชีของคุณจะถูกปิดการใช้งานและคุณจะไม่สามารถเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ของคุณ ตลอดจนไฟล์หรือเนื้อหาอื่นๆ ในบัญชีของคุณ แม้ว่าสำเนาของข้อมูลที่หลงเหลืออยู่จะยังคงอยู่ในระบบของเราระยะหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรองข้อมูล วรรค 2, 3, 5 – 8 และ 10 - 15 ของข้อตกลงนี้ ตลอดจนข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องของข้อกำหนดการให้บริการทั่วไป (รวมถึงวรรคเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด) จะมีผลต่อไป แม้ว่าจะมีการยุติหรือหมดอายุแล้วก็ตาม
11. การให้ความคุ้มครอง คุณยินยอมให้ความคุ้มครองและการชดเชยแก่ Google ตลอดจนบริษัทในเครือ บริษัทพันธมิตร เจ้าหน้าที่ ตัวแทน และพนักงาน จากการเรียกร้องค่าเสียหายของบุคคลที่สาม อันเกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับการใช้บริการ รวมถึงความรับผิดหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเรียกร้องสิทธิ์ ความเสียหาย (ที่เกิดขึ้นจริงและที่เป็นผลของเหตุการณ์อื่น) การฟ้องร้อง คำตัดสิน ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง ค่าใช้จ่ายของทนายความทุกลักษณะ ในกรณีเช่นนี้ Google จะแจ้งให้คุณทราบถึงการเรียกค่าเสียหาย การฟ้องร้อง หรือการดำเนินการดังกล่าวมาข้างต้นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
12. ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ ข้อตกลงนี้ถือเป็นข้อตกลงทั้งหมดระหว่างคุณและ Google และมีผลบังคับสำหรับการใช้บริการของคุณ มีผลแทนข้อตกลงก่อนหน้านี้ระหว่างคุณและ Google นอกจากนี้ คุณอาจมีข้อผูกพันตามข้อตกลงและเงื่อนไขเพิ่มเติมที่อาจมีผลเมื่อคุณใช้หรือซื้อบริการบางอย่างของ Google บริการในเครือ เนื้อหาของบุคคลอื่น หรือซอฟต์แวร์ของบุคคลอื่น
13. การสละสิทธิ์และการสิ้นสุดข้อกำหนด กรณีที่ Google ไม่สามารถใช้หรือบังคับใช้สิทธิ์หรือข้อบัญญัติของข้อกำหนดในการบริการ จะไม่ถือเป็นการสละสิทธิ์หรือข้อบัญญัตินั้นๆ ถ้าข้อบัญญัติของข้อกำหนดในการบริการใดที่ศาลยุติธรรมที่มีอำนาจตัดสินว่าไม่มีผลบังคับ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าศาลยุติธรรมควรพยายามให้เกิดผลแห่งเจตนาในข้อบัญญัตินั้น และข้อบัญญัติอื่นๆ ของข้อกำหนดในการบริการจะมีผลบังคับอย่างสมบูรณ์ทุกประการ
14. การหมดอายุความ คุณเห็นพ้องว่าการเรียกร้องหรือสาเหตุของการดำเนินการที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับการใช้บริการ Google หรือข้อกำหนดในการให้บริการต้องมีการยื่นเพื่อดำเนินการภายในหนึ่ง (1) ปีหลังจากการเรียกร้องหรือสาเหตุของการดำเนินการ มิฉะนั้นจะไม่สามารถยื่นข้อเรียกร้องได้อีก แม้ว่าจะมีข้อกำหนดหรือกฎหมายระบุไว้เป็นอย่างอื่นก็ตาม
15. ตัวเลือกของกฎหมาย เขตอำนาจศาล เวทีสนทนา ข้อกำหนดในการบริการนี้จะอยู่ภายใต้อำนาจของ และได้รับการตีความตามกฎหมายของรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยไม่มีผลต่อความขัดแย้งของข้อบัญญัติทางกฎหมายหรือรัฐหรือประเทศที่คุณพำนักอยู่จริง การเรียกร้อง การดำเนินการทางกฎหมาย หรือการฟ้องร้องเกี่ยวกับบริการจะต้องดำเนินการในซานตา คลาราเคาตี้ แคลิฟอร์เนีย และคุณยินยอมที่จะอยู่ภายใต้อำนาจศาลดังกล่าว
16. ข้อมูลลิขสิทธิ์ เรามีนโยบายที่จะตอบสนองต่อการแจ้งการล่วงละเมิดที่ได้รับการกล่าวหา ตามกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act ของสหรัฐอเมริกา หากคุณเชื่อว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ของคุณบริการนี้ โปรดดูที่ http://www.google.com/blogger_dmca.html เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นเรื่องหรือตอบสนองต่อการแจ้งการละเมิด