รายการบล็อกของฉัน

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง”


ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง”

ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง” ?
พระพุทธเจ้าเปรียนเหมือนหมอผ่าตัดผู้ป่วยที่ถูกลูกศรปักอก หมอไม่จำเป็นต้องใส่ใจว่าคนยิงเป็นใคร ทำไมคนร้ายจึงยิง หมอทำหน้าที่เพียงเร่งผ่าตัดช่วยชีวิตให้เร็วที่สุด ....แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมให้ผ่าตัด โดยตั้งเงื่อนไขว่า “ต้องหาคนยิงให้ได้ก่อน ..เขาหน้าตาเป็นอย่างไร? ผู้หญิงหรือผู้ชาย...ต้องให้เขาบอกเหตุผลที่ยิงให้ได้ก่อน...ผมจึงจะยอมให้หมอผ่าเอาลูกศรออก” ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็รับรองได้ว่า “ผู้ป่วยตายแหง๊แก๊ !???” ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฏกจูฬมาลุกยสูตร เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๒๖ หน้า ๑๓๘ ดังนี้
“หากมีใครกล่าวว่า „ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า „โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )‟ ตราบนั้นเราก็จักยังไม่ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระองค์ ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่อาบยาพิษอย่าง
ร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์ผู้ชํานาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า „ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเรา เราก็จักไม่ให้ถอนลูกศรนี้ออกไป‟ ฯลฯ
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า „ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัวเขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป‟ ต่อให้บุรุษนั้นตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย [21]
“เราไม่ตอบปัญหาว่า „โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )‟ เราไม่ตอบเพราะเหตุไร? เราจึงไม่ตอบเพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ คือปัญหาว่า „นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา‟ เราตอบเพราะเหตุไร? เราตอบเพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็น ไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ
เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่าเป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่าเป็นปัญหาที่เราตอบเถิด” [22]

พระพุทธเจ้าไม่ตอบเรื่อง “สร้างโลก” เพราะไม่มีความรู้..??

ตอบว่า..หลังจากตรัสรู้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้พระนามใหม่ อีกพระนามหนึ่งว่า“พระสัพพัญํู” แปลว่า ทรงรู้เรื่องทั้งปวง คือ รู้หมดทุกอย่าง ด้วยความที่พระองค์รู้ทุกอย่างนี่เอง ทำให้พระองค์ประมวลความรู้ทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วมีพระดำริว่า ถ้าหากทรงสอนทั้งหมด หรือบอกทั้งหมดที่รู้ จะ
ก่อให้เกิดโทษ เกิดหายนะแก่มวลสรรพสัตว์เสียมากกว่า พระองค์จึงเลือกที่จะสอนเฉพาะเรื่องที่เป็นไปเพื่อดับทุกข์ คล้ายโศกเพียงเท่านั้น ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ หน้า ๖๑๓ ดังนี้
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวันเขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย๒-๓ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย๒-๓ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้ว.. แต่มิได้บอกเธอนั้นมีมาก เพราะเหตุไรเราจึงมิได้บอก? เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นเราจึงมิได้บอก
สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว คือ เราบอกว่า„นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา‟ เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานเพราะเหตุนั้นเราจึงบอก [23]
ศาสนาพุทธมิใช่ว่าปฏิเสธเรื่อง “พระเจ้า” แต่ไม่ให้ความสําคัญ และไม่ใส่ใจที่จะไปพึ่งพายึดถือ เพราะพระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า การได้เป็นเทพหรือการไปเกิดอยู่ในวิมานในสวรรค์กับพระเจ้าแล้ว....ก็ยังมิใช่สุขแท้สุขถาวร ที่ไม่ต้องกลับมาเป็นทุกข์อีก คือ แม้จะได้เกิดเป็นเทวดาแล้วก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ตกนรกบ้าง ขึ้นสวรรค์บ้าง ถ้ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ก็มีโอกาสที่จะตกนรกอีก เพราะคนที่เกิดมาแล้วไม่ทำบาปเลยไม่มี
ศาสนาพุทธมุ่งศึกษาแต่ในประเด็นว่า ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นไปจากกฏเกณฑ์ทั้งปวงได้ ไม่ต้องยอมสยบอยู่กับอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ในที่สุดพระพุทธเจ้าก็ทรงค้นพบวิธีการนั้น นั่นก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่สามารถปฏิบัติให้เห็นผลได้จริงในชาติปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ด้วยตนเองในชาตินี้ ไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน ซึ่งมีพระอริยเจ้าในพุทธศาสนาสามารถพิสูจน์ทราบจนเห็นประจักษ์ แล้วนำออกเผยแผ่ สืบทอดต่อ ๆ กันมาทุกยุคทุกสมัย จนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง
[1] ศาสนาอิสลาม : คนใดที่ละทิ้งความศรัทธา คนนั้นจะพินาศและจะอยู่นรกอย่างนิรันดร (ซุเหราะฮฺ อัลอิมรอน 90) “และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (กุรอาน 3:85) “ผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์หลังจากที่เขาได้รับศรัทธาแล้ว(เขาจะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์) เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับทั้งๆ ที่หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาด้วยการปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็จะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์และสําหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์” (กุรอาน 6:106, ศาสนาคริสต์ : ในผู้อื่น ความรอดไม่มีเลย ด้วยนามอื่นซึ่งเขาทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรดให้มีท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า" (กิจการ4:12) สมาคมพระคริสตธรรมไทย พระคริสตธรรมคัมภีร์ พันธสัญญาเดิมและพันธ สัญญาใหม่ หน้า ๒๖๐
[2] วิสุทฺธชนวิลาสินี(บาลี)๑/๑๒๐
[3] ม.อุ.(ไทย) ๑๔/๒๙๔/๓๕๓
[4] องฺ.ทุก.(ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕
[5] สํ.นิ.(ไทย)๑๖/๒๐/๓๔
[6] ม.อุ. ๑๔/๗๗/๕๗-๕๘ , ขุ.จูฬ (ไทย) ๓๐/๓๓/๑๖๖
[7] พระมหาคัมภีร์ กุรอาน บทที่44 โองการที่54
[8] คัมภีร์ ไบเบิ้ล มัทธิว 5:43 ลูกา 6:27
[9] พระคัมภีร์ไตรปิฎก เล่มที่22 หน้า68
[10] ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ หน้า๒๙๒
[11] จากหนังสือ ..ปัญหาเกี่ยวกับ พระผู้เป็นเจ้า กรรม อนัตตา โดย พุทธทาสภิกฺขุ
[12] ข้อความนี้โพสต์ความคิดเห็น โดย ด๋อยไอซ์ / 18 เม.ย. 51 เวลา 23:37:17
[13] นำมาจาก บอร์ด : http://www.jaisamarn.org/webboard/question.asp?QID=4002
[14] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์ เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑ หน้า ๗๒๑

แหล่งข้อมูล / คัดลอก : http://www.tlcthai.com/
แหล่งข้อมูล / คัดลอก : http://www.vcharkarn.com/
แหล่งข้อมูล / หารูปภาพ : http://www.google.co.th/
ผู้รวบรวม / เรียบเรียง : hs6kjg
26 มิถุนายน 2551

บทความทางพระพุทธศาสนา




ทำแท้ง” พุทธศาสนามองว่าอย่างไร ช่วงนี้มีการถกเถียงกันมากเกี่ยวกับประเด็น “ทำแท้ง” ว่าควรหรือไม่ควร โดยที่ทั้งฝ่ายเสนอ และฝ่ายคัดค้าน ต่างยกเหตุผลขึ้นมาถกเถียงกันฟังดูก็มีเหตุผลดีทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเสนอก็บอกว่าควรออกกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้เพราะตอนนี้ก็มีการลักลอบทำแท้งเถื่อนกันมากมาย ถึงอย่างไรก็ควบคุมกันไม่ได้อยู่แล้ว ทำไมไม่ทำให้มันถูกต้องไปเสียเลย บางคนก็ว่าในกรณีที่ตรวจพบว่าเด็กมีโรคร้ายแรงคลอดออกมาก็ทรมานเปล่าๆ อีกไม่นานก็ตาย สู้ทำแท้งไปเลยจะได้ตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลม ฯลฯ ฝ่ายคัดค้านก็คัดค้านอย่างจริงจัง โดยให้เหตุผลว่าการทำแท้งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กหนุ่มสาวมั่วเพศกันมากขึ้น บ้างก็ว่าเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม สรุปว่าข้อโต้แย้งเรื่องการทำแท้งนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่ยุติตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ “ทำแท้ง” พุทธศาสนาวินิจฉัยว่าสมควร หรือไม่สมควรอย่างไร ? ถ้าจะให้ตอบก็คงจะต้องตอบตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งวินิจฉัยว่า การทำแท้งเท่ากับการฆ่ามนุษย์คนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะพุทธศาสนาถือหลักว่าการปฏิสนธิว่าคือจุดเริ่มต้นของการเกิดเป็นมนุษย์ คือมีจิตใจของมนุษย์เกิดขึ้นอยู่ในเซลล์ชีวิตเล็กๆ ที่ปฏิสนธินั้นแล้ว และภาวะแห่งความเป็นมนุษย์นี้จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อตายลง อนึ่ง ในทางพุทธศาสนาท่านถือว่าการฆ่ามนุษย์นั้นบาปหนักกว่าการฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน เพราะภาวะของมนุษย์ท่านถือว่าเป็นชีวิตอันประเสริฐที่ต่างจากสัตว์ดิรัจฉานทั่วไป เหตุผลคือชีวิตมนุษย์เป็นชีวิตที่มีโอกาสสามารถพัฒนาตนให้เจริญงอกงามได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ยกตัวอย่างเช่น คนธรรมดาอย่างเจ้าชายสิทธัตถะยังสามารถพัฒนาตนจนอุบัติเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เป็นต้น ดังนั้นการฆ่ามนุษย์แม้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จึงเท่ากับการตัดโอกาสของชีวิตที่จะได้พัฒนาตนต่อไป ในเมื่อพุทธศาสนามองว่าบุตรในครรภ์แม้วันแรกก็ถือว่าเป็นมนุษย์แล้วเช่นนี้ ในการตัดสินใจว่าการทำแท้ง สมควรหรือไม่สมควร จึงเป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยเป็นกรณีๆ ไป ไม่มีคำตอบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจอะไรลงไป แต่สิ่งควรจะต้องตระหนักรู้ไว้อยู่ตลอดเวลาในการที่จะตัดสินใจว่าควรหรือไม่ควรทำแท้ง คือ ชีวิตเล็กๆ ในครรภ์นั้นได้มีภาวะของความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นแล้ว หาใช่แค่เซลล์เล็กๆ หรือก้อนเนื้อก้อนเล็กๆ อย่างที่เคยเข้าใจแต่อย่าง
ต่อท้าย #1 20 มี.ค. 2553, 21:31:03
หลักฐานที่มีมาในพระไตรปิฎก และอรรถกถา เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่อง “ทำแท้ง” ๑. พระวินัยบอกว่าฆ่ามนุษย์เป็นบาปหนักที่สุด บาปยิ่งกว่าการฆ่าสัตว์ใดๆ ภิกษุใดฆ่ามนุษย์ ถือว่าต้องอาบัติปาราชิก หมดสิทธิเป็นสมณะอีกต่อไป ดังจะยกบาลีขึ้นมาอ้างดังต่อไปนี้ โย ปน ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปยฺย, อยมฺปิ ปาราชิโก อสํวาโส (วินย.๑/๑๘๐/๑๓๗) แปลว่า ภิกษุใดจงใจพรากชีวิตมนุษย์ ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หมดสิทธิอยู่ร่วมกับสงฆ์ (ไม่สามารถอยู่ร่วมกับภิกษุอื่นได้อีกต่อไป) โย ภิกขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส คพฺภปาตนํ อุปาทาย, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย (วินย.๔/๑๔๔/๑๙๕) “ภิกษุใดจงใจพรากชีวิตมนุษย์แม้แต่เพียงทำครรภ์ให้ตกไป (ทำครรภ์ให้ตกไปหมายความว่าทำแท้งนั่นเอง) ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นศากยบุตร” ๒. ในพระสูตรบอกว่า ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นเมื่อเกิดองค์ประกอบสามอย่าง คือ ๑) มารดาบิดาร่วมกัน ๒) มารดาไข่สุก และ ๓) มีสัตว์เข้าไปเกิด “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด มารดาบิดาร่วมกัน ๑ (มีเพศสัมพันธ์) มารดาอยู่ในฤดู (ช่วงเวลาไข่สุก) ๑ และคันธัพพะเข้าไปตั้งอยู่แล้ว ๑ ( มีสัตว์ที่เข้าไปเกิด ) เพราะประชุมองค์ประกอบ ๓ ประการอย่างนี้ ก็มีการก้าวลงแห่งครรภ์” (ม.มู.๑๒/๔๕๒/๔๘๗) ๓. อรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า ปฐมจิตเกิดขึ้นครั้งแรกพร้อมกับ อรูปขันธ์ ๓ และกลลรูป ดังนั้นตามหลักพุทธศาสนาชีวิตจึงมีองค์ประกอบขันธ์ ๕ ครบสมบูรณ์ ณ วันที่เริ่มปฏิสนธินั่นเอง ๔. กลลรูป เป็นเซลล์ขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และจะใช้เวลานานประมาณ ๕ สัปดาห์ กว่าจะเริ่มงอกแขนขาและศีรษะ ออกมาเป็นร่างกายมนุษย์ โดยที่ขั้นตอนเจริญเติบโตกว่าที่จะงอกเป็นปุ่มปมห้าปุ่ม นี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละสัปดาห์ ดังจะขอยกอรรถาธิบายของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มาแสดงดังต่อไปนี้
ต่อท้าย #2 20 มี.ค. 2553, 21:31:13
ชีวิตในครรภ์ เป็นอย่างไร ? ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เสา โลมา นขาปิ จํ นี้คือคำอธิบายว่าด้วยลำดับการเกิดเป็นระยะๆ ทีละช่วงสัปดาห์ หรือช่วงละเจ็ดวันๆ ลำดับแรกที่สุดก็คือเป็น ปฐมํ กลลํ เป็นกลละก่อน กลละนี่ถ้าเป็นศัพท์ในความหมายทั่วไปก็จะได้แก่พวกเมือก พวกโคลนตม เช่นว่าเหยียบลงไปในโคลนหรือในที่เละ แต่ในที่นี้ กลละ เป็นศัพท์เฉพาะซึ่งมีความเกี่ยวกับชีวิต และท่านใช้คำเรียกว่าอย่างนั้น ก็เพราะมีลักษณะเป็นเมือก หรือเหมือน อย่างน้ำโคลนเละๆ คือเป็นคำเรียกตามลักษณะ แต่ในกรณีนี้ ท่านหมายถึงเป็นเมือกใส ไม่ใช่ข้นอย่างโคลนตม กลละ นี้ ท่านบอกว่าเป็นหยาดน้ำใส เป็นหยดที่เล็กเหลือเกิน เล็กจนกระทั่งในสมัยนั้นไม่รู้จะพูดกันอย่างไรเพราะยังไม่ได้ใช้มาตราวัดอย่างละเอียดถึงขนาดที่ว่าเป็นเศษส่วนเท่าไรของวิธีอุปมาว่า หยาดน้ำใสกลละนี้นะ มีขนาดเล็กเหลือเกิน เหมือนอย่างเอาขนจามรีมา จามรีที่เป็นสัตว์อยู่ทางภูเขาหิมาลัย ซึ่งมีขนที่ละเอียดมากเอาขนจามรีเส้นหนึ่งมาจุ่มน้ำมันงา แล้วก็สลัดเจ็ดครั้ง แม้จะสลัดเจ็ดครั้งแล้วมันก็ยังมีเหลือติดอยู่นิดหนึ่ง ซึ่งเล็กเหลือเกิน ท่านบอกว่านี่แหละเป็นขนาดของกลละ กลละหมายถึงชีวิตในฝ่ายรูปธรรม เมื่อเริ่มกำหนดในเจ็ดวันแรกในช่วงเจ็ดวันแรกก็เป็นกลละอย่างนี้มาก่อน ซึ่งเล็กเหลือเกิน แล้วต่อจากกละนี้ไปในสัปดาห์ที่สองก็เป็น อัพพุทะ อัพพุทะ นี้ควรจะเรียกได้ว่าเป็นเมือกกละ คือ เป็นน้ำข้นหรือเมือกข้น ต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๓ ก็จะเป็นเปสิ คือเป็นชิ้นเนื้อ แล้วต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๔ ก็จะเป็นก้อน เรียกว่า ฆนะ ต่อจากนั้นในสัปดาห์ที่ ๕ ก็จะเหมือนกับมีส่วนงอกออกมา เป็นปุ่มห้าปุ่ม เรียกว่าปัญจสาขา นี่เป็นสัปดาห์ที่ห้า แล้วหลังจากนั้นก็จะมีผมมีขนมีเล็บกันต่อไป คัดลอกมาจากหนังสือเรื่องทำแท้ง : ตัดสินอย่างไร ? หน้า ๑๒-๑๔โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).................................................ขอบคุณบทความจาก ธรรมจักรดอทเน็ต

ภาพวิวสวยๆนะจร้า


ข้อกำหนดในการบริการของ Blogger

ข้อกำหนดในการบริการของ Blogger
ยินดีต้อนรับสู่ Blogger! ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นใช้ Blogger คุณต้องอ่านและยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการของ Blogger ("ข้อกำหนดในการให้บริการ") และข้อตกลงและเงื่อนไขต่อจากนี้ รวมถึงการแก้ไขในอนาคต (เรียกรวมว่า "ข้อตกลง"):
· ข้อกำหนดในการให้บริการของ Google - ข้อกำหนดในการให้บริการทั่วไปของ Google (http://www.google.com/terms_of_service.html)
· นโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google - วิธีที่เราจัดการและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคุณใน Blogger (http://www.google.com/privacy.html)
· นโยบายเนื้อหาของ Blogger - วิธีที่เราส่งเสริมการแสดงออกโดยเสรี และการเผยแพร่อย่างรับผิดชอบ (http://www.blogger.com/content.g)
แม้ว่าเราจะพยายามแจ้งคุณเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการให้บริการของ Blogger คุณควรตรวจทานเวอร์ชันใหม่ล่าสุดอย่างสม่ำเสมอ (http://www.blogger.com/terms.g) Google อาจใช้สิทธิ์พิจารณาปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขนโยบายและข้อกำหนดในการให้บริการเมื่อใดก็ได้ และคุณยินยอมปฏิบัติตามการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขดังกล่าว หากคุณไม่ยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ คุณจะไม่สามารถใช้บริการ Blogger เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างเงื่อนไขในการให้บริการของ Blogger และเงื่อนไขในการให้บริการทั่วไปของ Google (http://www.google.com/intl/en/terms_of_service.html) หรือนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google (http://www.google.com/privacy.html) เงื่อนไขในการให้บริการของ Blogger (http://www.blogger.com/terms.g) จะมีผลควบคุม ไม่มีส่วนใดในข้อตกลงนี้กล่าวอ้างถึงสิทธิและผลประโยชน์ของบุคคลที่สาม
1. คำอธิบายของบริการ Blogger เป็นบริการเผยแพร่ทางเว็บ และบริการพื้นที่ซึ่งเป็นตัวเลือก ("บริการ") คุณจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นจากชื่อผู้ใช้ของคุณ และเก็บรหัสผ่านของคุณไว้ให้ปลอดภัย คุณเข้าใจและยอมรับว่าบริการนี้มีให้แก่คุณ ตามสภาพ และตามที่สามารถให้บริการได้ Google ไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือรับผิดต่อความพร้อมในการให้บริการ การตรงเวลา ความปลอดภัย หรือความเชื่อถือได้ของบริการ หรือซอฟต์แวร์ไคลเอ็นต์อื่นๆ นอกจากนี้ Google สงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไข ระงับ หรือยกเลิกบริการโดยจะแจ้งให้ทราบหรือไม่ก็ได้ โดยไม่มีความรับผิดใดๆ ต่อคุณ _
คุณต้องมีอายุเกินสิบสาม (13) ปีจึงจะสามารถใช้บริการนี้ได้ Google ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการให้บริการแก่บุคคลใดก็ตาม เมื่อใดก็ตาม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุ
2. การใช้งานอย่างเหมาะสม คุณยอมรับว่าคุณต้องรับผิดชอบต่อการใช้บริการนี้ การส่งบทความ และผลลัพธ์ของการกระทำเหล่านี้ด้วยตนเอง คุณยินยอมที่จะใช้บริการตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของท้องถิ่น รัฐ ประเทศ และระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการส่งข้อมูลทางเทคนิคออกจากประเทศที่พำนักของคุณ และกฎหมายควบคุมการส่งออกของประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณยินยอมปฏิบัติตามนโยบายเนื้อหาของ Blogger (http://www.blogger.com/content.g) ตลอดจนกฎและข้อบังคับในระบบ แม้ว่าเราจะพยายามแจ้งให้คุณทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในนโยบายเนื้อหาของ Blogger แต่คุณควรอ่านฉบับล่าสุดอยู่เป็นประจำ Google อาจใช้สิทธิ์พิจารณาปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขนโยบายเนื้อหาของ Blogger เมื่อใดก็ได้ และคุณยินยอมปฏิบัติตามการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขดังกล่าว
การละเมิดข้อกำหนดใดก็ตามที่กล่าวมาแล้ว รวมถึงนโยบายเนื้อหาของ Blogger (http://www.blogger.com/content.g) อาจทำให้มีการสิ้นสุดข้อตกลงนี้โดยทันที และคุณอาจได้รับบทลงโทษของรัฐหรือรัฐบาลกลาง และผลทางกฎหมายอื่นๆ Google ขอสงวนสิทธิ์ โดยไม่ถือเป็นภาระรับผิด ในการตรวจสอบการใช้บริการของคุณ เพื่อ (a) พิจารณาว่ามีการละเมิดข้อตกลงหรือไม่ หรือ (b) เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ กระบวนการทางกฎหมาย หรือคำขอของภาครัฐที่มีผลบังคับหรือไม่
เนื้อหาส่วนใหญ่ใน Blogger.com และ Blogspot.com รวมถึงเนื้อหาของบทความบางส่วน มาจากบุคคลที่ส่งบทความ และเป็นความรับผิดชอบของบุคคลดังกล่าว Google ไม่ได้ตรวจสอบเนื้อหาของ Blogger.com และ Blogspot.com และไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาดังกล่าว Google เพียงให้บริการในการเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าวแก่คุณ
ด้วยลักษณะในการดำเนินการ ทำให้ Blogger.com และ Blogspot.com อาจมีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เป็นอันตราย ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ในบางกรณี การโพสต์ที่มีข้อความกำกับไม่ถูกต้องหรือมีการหลอกลวงด้วยวิธีอื่น เราคาดหวังให้คุณใช้ความระมัดระวัง และใช้สามัญสำนึกและการตัดสินใจที่เหมาะสมเมื่อใช้ Blogger.com และ Blogspot.com
Google ไม่ได้ส่งเสริม สนับสนุน รับรอง หรือรับประกันความเป็นจริง ความถูกต้อง หรือความเชื่อถือได้ของการสื่อสารที่ส่งเป็นบทความผ่านทางบริการ หรือส่งเสริมความคิดเห็นใดที่แสดงออกผ่านทางบริการนี้ คุณรับทราบว่าการอ้างอิงเนื้อหาที่แสดงเป็นบทความผ่านทางบริการนี้จะต้องกระทำโดยคุณยอมรับความเสี่ยงเอง
3. ความเป็นส่วนตัว ในการใช้บริการนี้ คุณจะต้องยอมรับเงื่อนไขของนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google (http://www.google.com/privacy.html) ซึ่งอาจมีการปรับปรุงในบางโอกาส ตามที่แสดงในฉบับล่าสุดขณะที่คุณใช้งาน คุณยอมรับว่า Google สามารถเข้าถึงหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ รวมถึงเนื้อหาของการสื่อสารของคุณ ถ้า Google จำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการทางกฎหมายหรือคำร้องขอของรัฐที่มีผลบังคับ (เช่น หมายค้น หมายศาล ข้อกำหนด หรือคำสั่งศาล) หรือตามที่บัญญัติไว้ในข้อกำหนดในการให้บริการ และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google ข้อมูลส่วนบุคคลที่ Google เก็บอาจมีการจัดเก็บและประมวลผลในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นที่ Google Inc. หรือตัวแทนมีหน่วยงานอยู่ ในการใช้บริการนี้ จะถือว่าคุณยินยอมให้มีการโอนข้อมูลดังกล่าวไปนอกประเทศของคุณ
4. วิธีปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับการใช้และจัดเก็บ คุณเห็นพ้องว่า Google ไม่มีภาระรับผิดชอบหรือความรับผิดในการลบ หรือความผิดพลาดในการบันทึกหรือส่ง ตลอดจนเนื้อหาและการสื่อสารอื่นๆ ที่มีให้ในบริการ Google สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาจำกัดการใช้งานและการเก็บข้อมูลเมื่อใดก็ได้ โดยจะแจ้งให้ทราบหรือไม่ก็ได้
5. เนื้อหาของบริการ Google ไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหาของบุคคลที่สาม (รวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียง ไวรัสหรือคุณลักษณะที่ทำให้ใช้งานไม่ได้) และ Google ไม่มีภาระรับผิดชอบต่อการตรวจสอบเนื้อหาของบุคคลที่สาม Google ขอสงวนสิทธิ์ในการลบหรือปฏิเสธที่จะแจกจ่ายเนื้อหาใดก็ตามในบริการ เช่น เนื้อหาที่ละเมิดข้อกำหนดของข้อตกลงนี้ เมื่อใดก็ได้ และ Google สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึง อ่าน เก็บรักษา และเปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่มีเหตุให้เชื่อว่ามีความจำเป็น เพื่อ (a) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ กระบวนการทางกฎหมาย หรือคำขอของรัฐบาล (b) บังคับใช้ข้อตกลงนี้ รวมถึงการสอบสวนถึงสิ่งที่อาจเป็นการละเมิดข้อตกลงนี้ (c) ตรวจสอบ ป้องกัน หรือดำเนินการอื่นๆ กับการหลอกลวง ปัญหาด้านความปลอดภัยหรือทางเทคนิค (d) ตอบสนองคำขอรับการสนับสนุนของผู้ใช้ หรือ (e) คุ้มครองสิทธิ์ ทรัพย์ หรือความปลอดภัยของ Google ผู้ใช้ และสาธารณชน Google จะไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือรับผิดต่อการใช้หรือละเว้นที่จะใช้สิทธิ์ใดๆ ภายใต้ข้อตกลงนี้
6. สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของ Google คุณรับทราบว่า Google เป็นเจ้าของสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ และผลประโยชน์ของบริการ รวมถึงสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด ("สิทธิ์ของ Google") สิทธิ์ของ Google ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสหรัฐอเมริกาและกฎหมายระหว่างชาติ ดังนั้น คุณยินยอมที่จะไม่คัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือสร้างผลงานต่อเนื่องจากบริการ และคุณยินยอมที่จะไม่ใช้กลไก สไปเดอร์ อุปกรณ์อัตโนมัติ หรือกระบวนการที่ดำเนินงานด้วยตนเอง เพื่อติดตามหรือคัดลอกเนื้อหาจากบริการ ตามที่อธิบายด้านล่างนี้ สิทธิ์ของ Google ไม่รวมถึงเนื้อหาของบุคคลที่สามที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของบริการ รวมถึงเนื้อหาการสื่อสารที่ปรากฏในบริการ
สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของคุณ Google ไม่อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรือควบคุมเนื้อหาใดๆ ก็ตามที่มีการส่ง ส่งบทความ หรือแสดงโดยคุณใน หรือผ่านบริการของ Google คุณหรือผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นบุคคลอื่น ถือกรรมสิทธิ์ในสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์สำหรับเนื้อหาที่คุณส่ง ส่งบทความ หรือแสดงในหรือผ่านบริการของ Google และคุณมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการคุ้มครองสิทธิ์ดังกล่าวตามสมควร การส่ง ส่งบทความ หรือแสดงเนื้อหาในหรือผ่านทางบริการของ Google ซึ่งมีให้สำหรับสาธารณชน จะถือว่าคุณให้สิทธิ์แก่ Google ในการทำซ้ำ เผยแพร่ และแจกจ่ายเนื้อหาดังกล่าวทั่วโลก ไม่เจาะจงและไม่มีค่ากรรมสิทธิ์ ในบริการของ Google เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงและแจกจ่ายบริการของ Google นอกจากนี้ Google สงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธที่จะยอมรับ แสดงบทความ แสดงหรือส่งเนื้อหาใดๆ ตามที่พิจารณาเห็นควร
คุณรับรองและรับประกันว่าคุณมีสิทธิ์และอำนาจที่จะให้สิทธิ์ซึ่งมีการให้ ณ ที่นี้สำหรับเนื้อหาที่ส่ง
คุณสามารถเลือกที่จะส่ง ส่งบทความ แสดงเนื้อหาในหรือผ่านบริการ Blogger หรือ Blogspot.com ภายใต้ใบอนุญาตสาธารณะ (เช่น ใบอนุญาต Creative Commons ) โดยอาจใช้วิธีทำเครื่องหมายเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว หรือใช้เครื่องมือบริการของ Blogger เพื่อมิให้เกิดข้อสงสัย Google ไม่ใช่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตสาธารณะระหว่างคุณกับบุคคลที่สาม นอกจากนี้ Google อาจเลือกที่จะใช้สิทธิ์ที่ให้ไว้ภายใต้ (a) ใบอนุญาตสาธารณะที่คุณใช้กับเนื้อหา ถ้ามี หรือ (b) ข้อตกลงนี้
7. ห้ามขายต่อบริการ ยกเว้นที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Google คุณยินยอมที่จะไม่ทำซ้ำ จำลอง คัดลอก ขาย แลกเปลี่ยน หาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จาก (a) ส่วนหนึ่งส่วนใดของบริการ (b) การใช้บริการ หรือ (c) การเข้าถึงบริการ
8. การเปิดเผยต่อสาธารณชน การใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ โลโก้ ชื่อโดเมน และลักษณะที่เป็นตราสินค้าอย่างชัดเจนของ Google ("ตราสินค้า") รวมถึง "Blogger," "Blogger.com," "Blogspot," และ "Blogspot.com" ต้องเป็นไปตามข้อตกลงนี้ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การใช้ตราสินค้าของ Google ในขณะนั้น รวมถึงเนื้อหาภายในหรือมีการอ้างอิง ซึ่งอยู่ที่ URL ต่อไปนี้: http://www.google.com/permissions/guidelines.html (หรือ URL อื่นๆ ที่ Google อาจมีให้ในบางโอกาส)
9. การรับรองและรับประกัน คุณรับรองและรับประกันว่า (a) ข้อมูลทั้งหมดที่คุณให้แก่ Google ในการเข้าร่วมใช้บริการนั้นถูกต้องและเป็นข้อมูลปัจจุบัน และ (b) คุณมีสิทธิ์และมีอำนาจเต็มที่จะลงนามในข้อตกลงนี้ และดำเนินการตามที่กำหนดสำหรับคุณในที่นี้
10. การยุติ การระงับ Google อาจใช้สิทธิ์พิจารณายุติการให้บริการ ยุติข้อตกลง หรือระงับหรือยกเลิกบัญชีผู้ใช้ของคุณเมื่อใดก็ได้ และด้วยเหตุผลใดก็ตาม ในกรณีที่มีการยกเลิก บัญชีของคุณจะถูกปิดการใช้งานและคุณจะไม่สามารถเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ของคุณ ตลอดจนไฟล์หรือเนื้อหาอื่นๆ ในบัญชีของคุณ แม้ว่าสำเนาของข้อมูลที่หลงเหลืออยู่จะยังคงอยู่ในระบบของเราระยะหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรองข้อมูล วรรค 2, 3, 5 – 8 และ 10 - 15 ของข้อตกลงนี้ ตลอดจนข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องของข้อกำหนดการให้บริการทั่วไป (รวมถึงวรรคเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด) จะมีผลต่อไป แม้ว่าจะมีการยุติหรือหมดอายุแล้วก็ตาม
11. การให้ความคุ้มครอง คุณยินยอมให้ความคุ้มครองและการชดเชยแก่ Google ตลอดจนบริษัทในเครือ บริษัทพันธมิตร เจ้าหน้าที่ ตัวแทน และพนักงาน จากการเรียกร้องค่าเสียหายของบุคคลที่สาม อันเกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับการใช้บริการ รวมถึงความรับผิดหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเรียกร้องสิทธิ์ ความเสียหาย (ที่เกิดขึ้นจริงและที่เป็นผลของเหตุการณ์อื่น) การฟ้องร้อง คำตัดสิน ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง ค่าใช้จ่ายของทนายความทุกลักษณะ ในกรณีเช่นนี้ Google จะแจ้งให้คุณทราบถึงการเรียกค่าเสียหาย การฟ้องร้อง หรือการดำเนินการดังกล่าวมาข้างต้นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
12. ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ ข้อตกลงนี้ถือเป็นข้อตกลงทั้งหมดระหว่างคุณและ Google และมีผลบังคับสำหรับการใช้บริการของคุณ มีผลแทนข้อตกลงก่อนหน้านี้ระหว่างคุณและ Google นอกจากนี้ คุณอาจมีข้อผูกพันตามข้อตกลงและเงื่อนไขเพิ่มเติมที่อาจมีผลเมื่อคุณใช้หรือซื้อบริการบางอย่างของ Google บริการในเครือ เนื้อหาของบุคคลอื่น หรือซอฟต์แวร์ของบุคคลอื่น
13. การสละสิทธิ์และการสิ้นสุดข้อกำหนด กรณีที่ Google ไม่สามารถใช้หรือบังคับใช้สิทธิ์หรือข้อบัญญัติของข้อกำหนดในการบริการ จะไม่ถือเป็นการสละสิทธิ์หรือข้อบัญญัตินั้นๆ ถ้าข้อบัญญัติของข้อกำหนดในการบริการใดที่ศาลยุติธรรมที่มีอำนาจตัดสินว่าไม่มีผลบังคับ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าศาลยุติธรรมควรพยายามให้เกิดผลแห่งเจตนาในข้อบัญญัตินั้น และข้อบัญญัติอื่นๆ ของข้อกำหนดในการบริการจะมีผลบังคับอย่างสมบูรณ์ทุกประการ
14. การหมดอายุความ คุณเห็นพ้องว่าการเรียกร้องหรือสาเหตุของการดำเนินการที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับการใช้บริการ Google หรือข้อกำหนดในการให้บริการต้องมีการยื่นเพื่อดำเนินการภายในหนึ่ง (1) ปีหลังจากการเรียกร้องหรือสาเหตุของการดำเนินการ มิฉะนั้นจะไม่สามารถยื่นข้อเรียกร้องได้อีก แม้ว่าจะมีข้อกำหนดหรือกฎหมายระบุไว้เป็นอย่างอื่นก็ตาม
15. ตัวเลือกของกฎหมาย เขตอำนาจศาล เวทีสนทนา ข้อกำหนดในการบริการนี้จะอยู่ภายใต้อำนาจของ และได้รับการตีความตามกฎหมายของรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยไม่มีผลต่อความขัดแย้งของข้อบัญญัติทางกฎหมายหรือรัฐหรือประเทศที่คุณพำนักอยู่จริง การเรียกร้อง การดำเนินการทางกฎหมาย หรือการฟ้องร้องเกี่ยวกับบริการจะต้องดำเนินการในซานตา คลาราเคาตี้ แคลิฟอร์เนีย และคุณยินยอมที่จะอยู่ภายใต้อำนาจศาลดังกล่าว
16. ข้อมูลลิขสิทธิ์ เรามีนโยบายที่จะตอบสนองต่อการแจ้งการล่วงละเมิดที่ได้รับการกล่าวหา ตามกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act ของสหรัฐอเมริกา หากคุณเชื่อว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ของคุณบริการนี้ โปรดดูที่ http://www.google.com/blogger_dmca.html เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นเรื่องหรือตอบสนองต่อการแจ้งการละเมิด