รายการบล็อกของฉัน

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ ๑๗ วันที่ ๙ ก.ค. ๕๓


ครั้งที่ ๑๗ วันที่ ๙ ก.ค. ๕๓

สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๓ วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓
๑. อนุมัติแต่งตั้งพระสังฆาธิการ/พระภิกษุให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้

๑.๑ พระวิมลวิหารการ (สมศักดิ์ ถิรธมฺโม) ป.ธ. ๓ น.ธ. เอก วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร
๑.๒ พระครูปลัดคำดี เขมธโร ป.ธ. ๖ น.ธ. เอก พธ.บ. วัดโพธิ์ชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย
๑.๓ พระครูปลัดมงคลวรวัฒน์ (ธีรปญฺโญ) ป.ธ. ๔ น.ธ. เอก พธ.บ. พธ.ม. วัดโพธิ์ชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย
๑.๔ พระครูอนุกูลศิลาเขต (มณเฑียร มหิสฺสโร) ประโยค ๑ - ๒ น.ธ. เอก พธ.บ. วัดโพธิ์ชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย
๑.๕ พระมหามีชัย ชินปุตฺโต ป.ธ. ๖ น.ธ. เอก รป.ม. วัดแจ้งแสงอรุณ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดแจ้งแสงอรุณ
๑.๖ พระมหาอุทัย เตชธมฺโม ป.ธ. ๗ รป.ม. วัดแจ้งแสงอรุณ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดแจ้งแสงอรุณ

๒. อนุมัติเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ดังนี้

๒.๑ อนุมัติการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ จำนวน ๑๒ รูป ดังนี้
๑. พระวรพัฒน์ ภทฺราวุโธ วัดสระเรียง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดไตรรัตน์ รัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
๒. พระธีระศักดิ์ ชลิโต วัดอุโมงค์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดป่าสามัคคี รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
๓. พระประเสริฐ ปญฺญาสาโร วัดอุโมงค์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดป่าสามัคคี รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
๔. พระสุรัตน์ ฐิตวฑฺฒโน วัดจันทรสิรินทราวาส อำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพระศรีรัตนาราม รัฐมิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา
๕. พระมหาพิสิทธิ์ มณิวํโส วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธมงคลนิมิต รัฐนิวแม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
๖. พระมหาวีระ วิริโย วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ไปปฏิบัติศาสนกิจ เป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธมงคลนิมิต รัฐนิวแม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
๗. พระมหาวัลลภ วลฺลภปญฺโญ วัดสร้อยทอง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธจักรมงคลรัตนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
๘. พระมหายุทธกิจ ปญฺญาวุโธ วัดสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธบูชา เมืองรูแบซ์ ประเทศฝรั่งเศส
๙. พระมหาเตือนภัย จนฺทโก วัดช่างหิน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพิกุลทอง อำเภอตุมปัด รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
๑๐. พระปัญญา สุภทฺโท วัดสำโรง อำเภอละหารทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพิกุลทอง อำเภอตุมปัด รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
๑๑. พระอาทิตย์ อาทิตปญฺโญ วัดสำโรง อำเภอละหารทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ สำนักสงฆ์วิเทศธรรมพิทักษ์ อำเภอเบอร์สุด รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
๑๒. พระมหาสมพร ฐิตเมโธ วัดทองเพลง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดดำรงค์รัตนาราม อำเภอกัวลามูดา รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
๒.๒ ขอผู้แทนมหาเถรสมาคมเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๗กรกฎาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๕ รูป คือ
๑. พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
๒. พระเทพรัตนสุธี วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
๓. พระเทพปริยัติวิมล วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
๔. พระเมธีสุทธิกร วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
๕. พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

๓. เรื่องอื่น ๆ ที่ประชุมลงมติดังนี้

๓.๑ อนุมัติให้มีตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จำนวน ๑ ตำแหน่ง
๓.๒ อนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) แห่งที่ ๓ ตั้งอยู่ที่ วัดแม่ปาง ตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๓.๓ อนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ธรรมยุต) แห่งที่ ๒ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าธรรมธารา ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
๓.๔ เห็นชอบเปลี่ยนแปลงชื่อ วัดหนองคูใหญ่ เป็น “วัดป่าเนรัญชรา” จังหวัดศรีสะเกษ
๓.๕ อนุมัติเบิกเงินผลประโยชน์ของวัด ดังนี้
- วัดช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
- วัดประดู่ในทรงธรรม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
๓.๖ เห็นชอบเลื่อนการประชุมมหาเถรสมาคม (จากวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ไปเป็นวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๓)

๔. รับทราบเรื่องเสนอเพื่อทราบ ดังนี้

๔.๑ รายงานการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
๔.๒ รายงานการนำเงินศาสนสมบัติกลางฝากธนาคาร
๔.๓ ขอเชิญร่วมเจริญพระพุทธมนต์พร้อมกันในงาน “รวมพลังไทยเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”



น.ส.พัชราภรณ์ จันทรณิธานศรี นักวิชาการศาสนาชำนาญการ / ผู้สรุป
นายพิศาล แช่มโสภา ผู้อำนวยการส่วนงานมหาเถรสมาคม / ตรวจ


--------------------------------------------------------------------------------

ส่วนงานมหาเถรสมาคม สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
โทร. ๐ ๒๔๔๑ ๔๕๔๔ โทรสาร ๐ ๒๔๔๑ ๔๕๔๘

http://www.mahathera.org/

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม วันที่ ๒๑ มิ.ย. ๕๓



สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๓ วันจันทร์ ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓
สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๓
วันจันทร์ ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓

๑. อนุมัติแต่งตั้งพระสังฆาธิการ/พระภิกษุให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
๑.๑ พระธรรมสิทธิมงคล (ฉิ้น โชติโก) ป.ธ. ๕ น.ธ. เอก วัดเมืองยะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมืองฯ จังหวัดยะลา เจ้าคณะจังหวัดยะลา ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดยะลา
๑.๒ พระราชสารสุธี (ประสงค์ วราสโย) ป.ธ. ๘ วัดสิริกาญจนาราม ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม - กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี (ธรรมยุต) ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม - กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี (ธรรมยุต)
๑.๓ พระครูอนุสิฐธรรมสาร (อนันต์ จนฺทาโภ) ป.ธ. ๔ น.ธ. เอก ศน.บ. วัดพระธาตุดอยกองมู ตำบลจองคำ อำเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เจ้าคณะอำเภอปางมะผ้า ให้ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๑.๔ พระครูวิสิฐปัญญากร (พยุงศักดิ์ ปญฺญาภรโณ) น.ธ. เอก วัดบ้านตอง ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดลำพูน เจ้าคณะอำเภอเมืองลำพูน ให้ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดลำพูน
๑.๕ พระวราวุธ สีลาวุโธ น.ธ. เอก ศน.บ. กศม. วัดศรีสุทธาวาส ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองฯ จังหวัดเลย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง
๒. อนุมัติเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ดังนี้
๒.๑ อนุมัติการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ จำนวน ๙ รูป ดังนี้
๑. พระวินัย สมงฺคิโก วัดศรีษะเกษ อำเภอเมืองฯ จังหวัดหนองคาย ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดนวมินทรราชูทิศ เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส
๒. พระมหาไพฑูรย์ โชติวณฺโณ วัดอินทรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธสามัคคี นครไครส์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์
๓. พระมหาประเวศ เตชปญฺโญ วัดอินทรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธสามัคคี นครไครส์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์
๔. พระจรัญ ขนฺติพโล วัดสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดไทยเชตวันมหาวิหาร รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
๕. พระศิริชัย ปภสฺสโร วัดพลับพลา อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดไทยเชตวันมหาวิหาร รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
๖. พระศิเวษฐ์ จารุธมฺโม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพระธรรมกายเบลเยี่ยม ประเทศเบลเยี่ยม
๗. พระวุฒิคม ทีปธมฺโม วัดบึงพระ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดโพธิเจริญธรรม สุงไงปูยู เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
๘. พระกรนัน ฐานสมฺปนฺโน วัดศรีมงคล อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดโพธิเจริญธรรม สุงไงปูยู เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
๙. พระเดช สิริธมฺมุนี วัดราชบุรณะ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดโพธิเจริญธรรม สุงไงปูยู เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
๒.๒ อนุมัติต่ออายุหนังสือเดินทางของพระธรรมทูตที่ปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ จำนวน ๖ รูป ดังนี้
๑. พระสุทธิพงศ์ สุทฺธิวํโส (พระครูวิสุทธิธรรมวิเทศ) วัดพระไกรสีห์ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
๒. พระครูสุพัฒนเขมคุณ (เกษม เขมจิตฺโต) วัดสหธรรมิการาม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
๓. พระมหาสุนทร สุนฺทรธมฺโม วัดม่วง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
๔. พระมหาประสิทธิ์ สิรินฺธโร (พระครูวิเทศสิริธรรม) วัดพระไกรสีห์ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยไอซ์แลนด์ กรุงเยคยาวิค ประเทศไอซ์แลนด์
๕. พระครูธรรมธร ประคองศักดิ์ สตฺติปญฺโญ วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดพระธรรมกายเบลเยี่ยม ประเทศเบลเยี่ยม
๖. พระมหาสุเทพ อกิญฺจโน วัดสมานราษฎร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย
๒.๓ อนุมัติเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสหภาพเมียนมาร์ จำนวน ๓ รูป ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ คือ
๑. พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
๒. พระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
๓. พระครูวินัยธร ประเสียร อโนมคุโณ วัดนวลจันทร์ กรุงเทพมหานคร
๓. เรื่องอื่น ๆ ที่ประชุมลงมติดังนี้
๓.๑ อนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเลย จำนวน ๖ แห่ง คือ
๑) แห่งที่ ๑๑ ตั้งอยู่ที่ วัดขามชุม ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน
๒) แห่งที่ ๑๒ ตั้งอยู่ที่ วัดศรีสุทธาวาส ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองฯ
๓) แห่งที่ ๑๓ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าผาเจริญ ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง
๔) แห่งที่ ๑๔ ตั้งอยู่ที่ วัดเย็นศรีระธรรมประทีป ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย
๕) แห่งที่ ๑๕ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าน้ำภู ตำบลเมือง อำเภอเมืองฯ
๖) แห่งที่ ๑๖ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าสามัคคีธรรม ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน
๓.๒ เห็นชอบการจัดตั้งโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา วัดใหม่ไทยเจริญ ตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
๓.๓ เห็นชอบการจัดงานเทศน์มหาชาติและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓.๔ เห็นชอบการให้เช่าที่ดินเพื่อปักเสาและแขวนสายเคเบิลโทรศัพท์ผ่านวัดป่าฝ้าย (ร้าง) จังหวัดนนทบุรี
๓.๕ เห็นชอบการขอเช่าที่ดิน ดังนี้
- วัดท่ามะกอ (ร้าง) ตำบลบางพลับ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
- วัดกล้วย (ร้าง) ตำบลนายม อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบูรณ์
- วัดอุทมพร (ร้าง) ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครพนม
- วัดโพธิ์ราษฎร์นิยม (ร้าง) ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
๔. รับทราบเรื่องเสนอเพื่อทราบ ดังนี้
๔.๑ พระครูศุภกิจวิบูล (ชัย ชนาสโภ) วัดวิเวกวราราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดตราด ถึงมรณภาพ
๔.๒ พระมหาวีระ ฐิติญาโณ วัดศรีสุดาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ถึงมรณภาพ
๔.๓ พระครูประโชติวีรธรรม (โอภาศ อาภาโส) วัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ถึงมรณภาพ
๔.๔ ขอถวายหนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ในสยามประเทศ


น.ส.พัชราภรณ์ จันทรณิธานศรี
นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
ผู้สรุป
นายพิศาล แช่มโสภา
ผู้อำนวยการส่วนงานมหาเถรสมาคม
ตรวจ

หมายเหตุ ๑. สรุปผลการประชุมนี้ ไม่สามารถนำไปเป็นเอกสารอ้างอิงทางกฎหมายได้
๒. ฐ และ ญ ที่เป็นภาษาบาลีจะใช้เป็นภาษาไทยแทน หากจะใช้เป็นภาษาบาลีจะต้องใช้
โปรแกรมอื่นที่มีความยุ่งยากกว่า

ทำไมพาสสปอร์ตพระจึงได้ยากนัก




โดย เมตฺตานนฺโท ภิกขุ
มติชนรายวัน วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ หน้า ๗
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01act04250246&show=1§ionid=0130&day=2003/02/25

ประเทศไทยมีพระภิกษุสามเณรกว่า ๓ แสนรูป แต่ในขณะนี้พระภิกษุสามเณรชาวไทยทั้งประเทศ กำลังได้รับความยากลำบากอย่างมากในการทำหนังสือเดินทาง เนื่องจากถูกระเบียบการเดินทางของพระภิกษุสามเณร กำหนดได้ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย กินเวลาหลายสัปดาห์หรือบางแห่งหลายเดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าพระภิกษุรูปนั้น รู้จักและเป็นที่ชอบพอของพระผู้ใหญ่ ที่ทำหน้าที่ควบคุมการออกหนังสือเดินทางมากน้อยเพียงใด หากมิรู้จักผู้ใดหรือที่ร้ายกว่านั้นคือ เป็นที่ไม่โปรดปรานของพระผู้ใหญ่บางท่านแล้ว การยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางย่อมเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากเจ้าหน้าที่กองหนังสือเดินทางของกองการกงสุลจะไม่นำพาคำร้องขอทำหนังสือเดินทางของพระภิกษุ หากปราศจากเอกสารรับรองจากกรมการศาสนา โดยที่ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายอื่น เช่น ศรีลังกา เมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชา มิได้มีเลือกปฏิบัติต่อพระภิกษุในลักษณะนี้เลย
ในขณะเดียวกันนักบวชชายและหญิงในคริสต์ศาสนา และโต๊ะครูในศาสนาอิสลาม สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง ณ สำนักงานสาขาต่าง ๆ ของกองการกงสุลได้โดยตรง พร้อมด้วยค่าธรรมเนียมอีกหนึ่งพันบาทและบัตรประจำตัวประชาชน ก็สามารถรับหนังสือเดินทางตามต้องการได้โดยสะดวก ใช้เวลาไม่เกิน ๒ วันทำการของระบบราชการไทย ความสะดวกเหล่านี้เนื่องจากระบบตรวจสอบ ผ่านศูนย์ข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งสามารถตรวจสอบประวัติของประชาชนไทยได้อย่างรวดเร็ว
เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่ อานิสงส์แห่งการเป็นประชาชนไทยนั้น หาได้ตกลงมาถึงพระภิกษุสามเณรที่เกิดเป็นคนไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ ในทางปฏิบัติพระภิกษุสามเณรซึ่งมีจำนวนกว่า ๓ แสนรูป มีฐานะเท่ากับประชาชนชั้นสองในแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาหลายร้อยปี (แม้จะไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญก็ตาม) การเลือกปฏิบัติต่อพระภิกษุสามเณรในการขอรับหนังสือเดินทางนี้ มิได้มีข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งในพระไตรปิฎกหรือพระธรรมวินัยข้อใดข้อหนึ่งรับรองอยู่เลย

ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางของพระภิกษุ
กฎระเบียบว่าด้วยการเดินทางไปต่างประเทศของมหาเถรสมาคมนี้ กำหนดแนวทางการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุและสามเณรไว้สองกรณีด้วยกัน คือ ในกรณีที่กิจที่จำเป็นในการเดินทางนั้นเป็นกิจส่วนตัว เช่น การไปแสวงบุญในประเทศอินเดีย การไปศึกษาต่อ หรือการไปงานกุศลในวัดไทยในต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ผ่านคณะกรรมการศูนย์ตรวจสอบพระภิกษุ (ศ.ต.ภ.) เป็นผู้พิจารณา หรือหากไปกิจที่เป็นทางการของการคณะสงฆ์ เช่น ปฏิบัติการพระธรรมทูตในสังกัดวัดไทยในต่างประเทศ คือ มหาเถรสมาคมเป็นผู้พิจารณา ซึ่งการดำเนินเรื่องยังต้องผ่านแม่กองพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ว่าเป็นพระภิกษุในสังกัดของมหานิกายหรือธรรมยุติกนิกาย
อนึ่ง ระเบียบปฏิบัติดังกล่าวมิได้กำหนดเงื่อนไขแก่ผู้พิจารณาว่า มีคุณสมบัติอย่างไร หรือมีมาตรฐานในการพิจารณาการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พระภิกษุผู้ขอหนังสือเดินทางรูปนั้น ๆ ด้วย ทำให้กระบวนการทั้งหมดปราศจากมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของพระผู้ใหญ่เพียงประการเดียว เป็นการเปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้น
หากมีความจำเป็นส่วนตัวในการขอหนังสือเดินทาง พระภิกษุจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบ จากบุคคลต่างๆ ตามลำดับดังต่อไปนี้ คือ เจ้าอาวาสที่ตนสังกัดอยู่ เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค คณะกรรมการศูนย์ตรวจสอบพระภิกษุ (ศ.ต.ภ.) แล้วจึงนำเรื่องเข้ากรมการศาสนาเพื่อทำหนังสืออนุญาตให้ทำหนังสือเดินทางได้ ไปขอทำหนังสือเดินทาง ณ กองหนังสือเดินทางต่อไป ในการผ่านการอนุมัติตามขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ หากสะดุดเพียงขั้นเดียว ย่อมส่งผลให้การขออนุมัติหนังสือเดินทางนั้นล้มเหลวลงทันที แม้พระภิกษุรูปนั้นผ่านขั้นตอนการอนุมัติหนังสือเดินทางแล้วทั้งหมด ก็หาได้มีสิทธิในการรับหนังสือเดินทางฉบับที่เท่าเทียมกับประชาชนธรรมดาไม่ แต่จะได้รับหนังสือเดินทางราชการ (ปกสีน้ำตาลเข้ม) ซึ่งมีอายุหนังสืออยู่เพียง ๒ ปี ในขณะที่ของประชาชนธรรมดามีอายุ ๕ ปี ทั้ง ๆ ที่พระภิกษุมิได้เป็นข้าราชการแต่ประการใดไม่ และเป็นการขัดต่อพระธรรมวินัยโดยตรง ที่ออกหนังสือเดินทางราชการให้แก่พระภิกษุ เพราะเป็นข้อห้ามโดยตรงตั้งแต่แรกของการอุปสมบทว่าผู้ที่มาบวชนั้น ต้องไม่เป็นข้าราชการ และการปฏิบัติในลักษณะนี้เท่ากับเป็นการกระทำการอันเป็นเท็จ โดยตรงอีกด้วย
ในการเดินทางต่างประเทศนั้น สถานภาพของหนังสือเดินทางข้าราชการนั้น ไม่แตกต่างอะไรกับหนังสือเดินทางสามัญของประชาชนเลย ประเทศบางประเทศอาจให้สิทธิแก่หนังสือเดินทางข้าราชการบ้าง เป็นต้นว่าไม่จำเป็นที่ต้องมีวีซ่าก็สามารถเข้าประเทศได้ แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย การขอวีซ่าเข้าประเทศปลายทางยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อพระภิกษุผู้ถือหนังสือเดินทางข้าราชการอยู่นั่นเอง
สำหรับพระธรรมทูตก็เช่นเดียวกัน ไม่สามารถรับหนังสือเดินทางสามัญของประชาชนได้ แม้ว่าการขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางจะไม่ต้องผ่าน เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาค แต่ก็ต้องผ่านเจ้าอาวาสและแม่กองพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ซึ่งมีทรรศนะในการใช้อำนาจในการตัดสินใจแบบเดียวกันและขาดมาตรฐานในการดำเนินงาน

ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่พระภิกษุที่จำพรรษาต่างประเทศ
การคุมเข้มการออกหนังสือเดินทางของพระภิกษุไทยนี้ ได้สร้างความเสียหายและความยุ่งยากลำบาก แก่พระภิกษุไทยที่จำพรรษาในต่างประเทศอย่างมาก เนื่องจากตามกฎระเบียบฉบับนี้ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือเดินทางใดๆ แก่พระภิกษุได้เลย เจ้าหน้าที่กงสุลจะยืนยันตามกฎระเบียบว่าต้องได้รับการอนุมัติจากมหาเถรสมาคม หรือ ศ.ต.ภ.ก่อนเท่านั้น หากพระรูปดังกล่าวมีญาติโยม ช่วยวิ่งเต้นในเมืองไทยก็ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ กว่าจะขอเอกสารรับรองส่งไปยืนยันกับเจ้าหน้าที่สถานกงสุลในประเทศนั้นๆ ได้ หาไม่แล้วก็ต้องเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อกลับมาวิ่งเต้นทำหนังสือเดินทางของตนเองใหม่อีกครั้งทุก ๆ สองปี
สถานการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นสภาวะที่จำยอม ที่สร้างความทุกข์ทรมานและหดหู่ใจอย่างมาก แก่พระภิกษุไทยที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศ หากสถาบันการศึกษาที่ตนกำลังเรียนอยู่นั้นอยู่ในเมืองเดียวกับสถานกงสุลไทย ก็เป็นเรื่องสะดวกหน่อยหนึ่ง แต่โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ห่างไกลกันมาก ทำให้ต้องเดินทางกลับไปกลับมาอยู่หลายเที่ยวเพียงเพื่อขอต่ออายุหนังสือเดินทางของตนเองเท่านั้น กรณีที่เป็นพระหนุ่มที่ไม่มีญาติโยมในเมืองไทยวิ่งเต้นให้ ก็เป็นอันต้องลำบากเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า แม้ว่าประเทศที่ตนกำลังเรียนต่ออยู่นั้นได้ให้วีซ่ารับรองให้อยู่ต่อในประเทศนั้นได้ แต่อาจต้องเดินทางกลับ โดยที่เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไม่นำพาหรืออำนวยความสะดวก อ้างว่าไม่มีอำนาจในการดำเนินการ นอกจากพระรูปนั้นลาสิกขาเป็นฆราวาส แล้วตนเองจึงจะสามารถออกหนังสือเดินทางให้ได้
พระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมมักให้เหตุผลว่า เพราะรับเรื่องร้องทุกข์ในเรื่องพระทำตัวไม่ดีในต่างประเทศบ่อยจึงต้องคุมกันเข้มเพื่อให้ภาพลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้น อันที่จริงแล้วมหาเถรสมาคมไม่เคยมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเป็นสถิติตามหลักวิชาการแต่ประการใด และยังเป็นเหตุผลยกอ้างที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากพระผู้บริหารเหล่านี้ นอกจากมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารแล้ว ยังต้องรับผิดชอบในเรื่องการอบรมภิกษุทั้งหลายอีก เท่ากับให้ผู้ที่ไม่มีความเป็นกลางเป็นผู้วินิจฉัยสิทธิอันชอบธรรมของผู้ใต้ปกครองของตน การออกกฎเหล็กในการควบคุมเช่นนี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งฐานันดรของผู้มีอำนาจ มากกว่าที่จะเป็นประโยชน์กับพระศาสนา อันที่จริงการหากปราศจากระเบียบนี้ การศึกษาของคณะสงฆ์จะดีและทันสมัยขึ้น หากพระผู้น้อยทั้งหลายประพฤติตัวไม่เหมาะสม ก็น่าจะหาวิธีการให้การศึกษาอบรมพระภิกษุให้ดียิ่งขึ้นไป มิใช่แก้ไขปัญหาโดยการกำจัดสิทธิของนักบวชผู้น้อย เพื่อปกปิดความบกพร่องซึ่งตนเองมีส่วนรับผิดชอบโดยตรง
ระเบียบว่าด้วยพระภิกษุสามเณรผู้จะเดินทางไปต่างประเทศนี้ ขัดต่อหลักการและตัวมาตราแห่งรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากหนังสือเดินทางเป็นเอกสารราชการ ที่รัฐบาลออกให้แก่ประชาชนผู้มีสัญชาติไทยทุกคน ภายใต้หลักการและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐, มาตรา ๓๖, มาตรา ๓๘ ความในมาตราทั้ง ๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน กำหนดสิทธิให้ประชาชนไทยทุกคน ไม่ว่านับถือศาสนาใด ๆ ต้องได้รับการปฏิบัติโดยเสมอภาค พระภิกษุไทยมีสัญชาติไทย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับสิทธินี้ด้วย หาไม่แล้วจะถือว่ามหาเถรสมาคมมีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญแห่งชาติกระนั้นหรือ?
หากพิจารณาว่า มหาเถรสมาคมคือ องค์การบริหารงานทางศาสนาองค์กรหนึ่ง ที่มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะออกกฎหมายใดก็ได้ เพื่อควบคุมสมาชิกในองค์การของตน และเป็นสิทธิอันชอบธรรมภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การที่เจ้าหน้าที่กรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ เรียกร้องให้พระภิกษุที่ยื่นขอหนังสือเดินทางให้ต้องมีเอกสารรับรองจากศูนย์ตรวจสอบพระภิกษุ หรือกรมการศาสนา จนทำให้เกิดความล่าช้าและเดือดร้อนกันมากนั้น เป็นการเลือกปฏิบัติโดยมูลเหตุของศาสนาเป็นที่ตั้งและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๓ มาตรา อย่างชัดเจน

ระเบียบของมหาเถรสมาคมขัดต่อพระธรรมวินัย
แม้ระเบียบของมหาเถรสมาคมฉบับนี้ อ้างเหตุเพื่อเป็นการเกื้อกูลแห่งพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา แต่ในความเป็นจริงแล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ด้วยไม่ปรากฏว่าในพระธรรมวินัยแห่งใดที่ห้ามการเดินทางของพระภิกษุเลย เว้นไว้แต่การเข้าไปสู่ที่ที่เรียกว่า "อโคจร" อันได้แก่สถานเริงรมย์ แหล่งอบายมุข หรือที่ฝึกหัดทหารหรือสมรภูมิ เป็นต้น
พระธรรมวินัยยังได้ให้สิทธิแก่พระภิกษุผู้ที่บวชมานาน ในการอบรมสั่งสอนหรือการให้เกียรตินั่งในแถวหน้าก่อนพระภิกษุที่มีอายุพรรษาน้อย แต่กระนั้นเองระเบียบการควบคุมการออกหนังสือเดินทางของพระภิกษุนั้น มิได้เกื้อกูลต่อหลักการนี้ในพระธรรมวินัยแต่ประการใด อีกทั้งยังกำหนดเงื่อนไขแก่พระภิกษุที่อายุพรรษาไม่ครบห้าให้ต้องมีหนังสือรับรองเป็นพิเศษ
การกำหนดให้พระภิกษุรับหนังสือเดินทางข้าราชการ ทั้งที่บรรพชิตในพระพุทธศาสนามิใช่ข้าราชการนั้นเป็นการผิดหลักการของพระธรรมวินัยโดยตรง ยิ่งไปกว่านั้น เงื่อนไขตามที่กำหนดให้พระภิกษุสามารถขอหนังสือเดินทางจากกระทรวงการต่างประเทศได้นั้น กำหนดเงื่อนไขที่ปฏิบัติได้ยาก ทำให้พระภิกษุผู้มีกิจจำเป็นในการเดินทางไม่อาจปฏิบัติได้ ต้องอ้างเหตุว่าตนจะเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน เป็นต้น เพื่อให้ได้การอนุมัติเพื่อให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้ เท่ากับเป็นการสร้างเงื่อนไขที่เป็นปฏิปักษ์แก่การประพฤติธรรมวินัย สนับสนุนให้เกิดการเล่นพวกพ้อง และการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงการดงขมิ้นอีกด้วย
การยกเลิกกฎระเบียบของมหาเถรสมาคมที่ลิดรอนสิทธิมนุษยชนของพระภิกษุไทย ย่อมส่งผลดีในระยะยาว นอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาทางสิทธิมนุษยชนที่ถูกต้อง ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ แล้วยังจะเป็นการพัฒนาสังคมสงฆ์ให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย ระบบอุปถัมภ์อันเป็นบ่อเกิดของการคอร์รัปชั่นอันเน่าเฟะในสังคมจะได้ลดกำลังลงไปอีกสักหน่อยหนึ่ง หากต้องการให้พระภิกษุประพฤติตัวให้ดีถูกต้องตามพระธรรมวินัยให้มาก พระเถรทั้งหลายจะได้เวลามากขึ้น ในการพัฒนาหลักสูตรการคัดเลือกและอบรมพระภิกษุให้ดียิ่งขึ้นไป มิต้องเสียเวลาพิจารณาว่าภิกษุรูปใดเป็นพวกของใคร สมควรหรือไม่ควรได้หนังสือเดินทาง อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่รัฐธรรมนูญและปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติกำหนดไว้
ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียเวลาในการบริหารอย่างมาก ยังเป็นการกดขี่พระผู้น้อย แทนที่จะทำตัวให้เป็นผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างของผู้ใหญ่ผู้เจริญด้วยพรหมวิหารธรรม

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Facebook

Facebook

สะอาด สว่าง สงบ เย็น

หลวงพ่อขาว
นมัสการ หลวงพ่อขาว กลางป่าเขียว วัดพระขาว จังหวัดนครราชสีมา ถ้าเอ่ยถึงหลวงพ่อขาว หลายคนคงนึกถึงพระเกจิอาจารย์สักรูปอันเป็นที่เคารพนับถือในวัดแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ถ้าถามถึงหลวงพ่อขาวกับชาวโคราชแล้ว คนเมืองนี้ส่วนใหญ่หากไม่ร้องอ๋อ!?! ก็อาจจะพยักหน้าหงึกๆยืนยันว่ารู้จักดี เพราะหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปสีขาวนวลองค์มหึมาที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนริมยอดเขา ในวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดพระขาว” วัดพระขาว ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันพิสุทธิ์ร่มรื่นเขียวครึ้ม ณ เชิงเขาสีเสียดอ้าหรือ เขาเทพพิทักษ์ หมู่บ้านกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นจากดำริของ พระอาจารย์ท่านพ่อลี (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) ในปี พ.ศ. 2510 และแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2512 ปัจจุบันมี “พระครูพิทักษ์มัชฌิมเขต” เป็นเจ้าอาวาส วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเพราะเป็นที่ประดิษฐาน“พระพุทธสกลสีมามงคล” (ชื่อพระราชทาน)หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” ตามรูปลักษณ์และขนาดของพระพุทธรูปองค์นี้ ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะหลายกิโลเมตร หลวงพ่อขาว เป็นการสร้างขยายส่วนมาจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร พระพุทธรูปปางประทานพรที่มีพุทธลักษณะอันงดงามคล้ายพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย โดยองค์หลวงพ่อขาว หล่อด้วยคอนกรีตทั้งหมดมีน้ำหนักถึง 3000 ตัน หน้าตักกว้าง 13 วา สูงจากพื้นดิน 112 เมตร


หลวงพ่อขาวจำลอง
ทั้งนี้ผู้ที่จะไปสักการะหลวงพ่อขาวอย่างใกล้ชิดแบบถึงที่ก็ต้องเดินขึ้นบันไดไป โดยมีให้เลือกทั้งบันไดด้านซ้ายและด้านขวา ที่จำนวนขั้นบันไดทั้ง 2 ด้าน นับรวมกันได้ 1,250 ขั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขมงคลที่ทางวัดนำมาจากจำนวนพระสงฆ์ที่มาประชุมกันมิได้นัดหมายในวันมาฆบูชานั่นเอง สำหรับผู้ที่มีศรัทธาแรงกล้า(และกำลังขาที่แข็งแรง)ก็เมื่อขึ้นไปนมัสการหลวงพ่อขาวเพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตแล้ว ก็ไม่ควรพลาดการชมวิวมุมสูงของเมืองโคราชที่บนนั้นด้วย นอกจากนี้บริเวณใกล้ๆกับที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาวยังมีทางเดินป่าเล็กๆ ทอดยาวสู่“ถ้ำหมี” ที่หลวงปู่เมตตาหลวง(พระญาณสิทธาจารย์ ) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระขาวใช้ในการบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นประจำ ส่วนผู้ที่มีศรัทธาแต่ไม่ค่อยจะมีแรง หรือเป็นประเภทไม่นิยมความสูง ในอุโบสถหรือบริเวณทางขึ้นเขาก็มีหลวงพ่อขาวจำลององค์เล็กไว้ให้ได้สักการะบูชา ซึ่งใครที่เดินทางจากกรุงเทพฯผ่านไปทางปากช่องหากมีโอกาสก็อย่าลืมแวะเวียนเข้าไปซึมซับธรรมชาติและธรรมะกันได้ที่วัดพระขาว ที่ถือเป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราสีมาที่เปรียบเสมือนประตูมงคลก่อนจะเดินทางเข้าสู่อีสานเลยทีเดียว
วัดเทพพิทักษ์ปุณณารามหรือวัดพระขาว อันเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อขาว ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า หมู่บ้านกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 150 มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร มีถนนลาดยางเข้าไปถึงวัด


See sunset


Thousands flock to Stonehenge for summer solstice
Thousands of Summer Solstice revellers gathered at Stonehenge today to watch dawn break on the longest day of the year.
Nearly 20,000 people attended the event, with 15 arrests overnight for minor public disorder, a Wiltshire Police spokesman said. Photo: PA
The solstice annually attracts an eclectic mix - Druids, hippies, sun worshippers and those who are curious to experience the ancient festival.
Nearly 20,000 people attended the event at Stonehenge, with 15 arrests overnight for minor public disorder, a Wiltshire Police spokesman said.

As the sun rose at 0452, a cheer went up from those gathered overnight at the stone circle on Salisbury Plain in Wiltshire.
The crowds were treated to clear views of the sunrise - previous years have seen the spectacle obscured by mist and cloud.
Last year a record 36,500 revellers attended, causing traffic chaos and road closures.
It was announced last week that £10 million of funding for a proposed visitor centre at the prehistoric site has been axed, putting the plans on hold indefinitely.

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553